DSpace Repository

การปรับปรุงคุณภาพทัวร์มาลีนด้วยวิธีการเผา และการพิสูจน์เอกลักษณ์ทัวร์มาลีนที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุล

Show simple item record

dc.contributor.author พิมพ์ทอง ทองนพคุณ
dc.contributor.author อรุณี เทอดเทพพิทักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/315
dc.description.abstract การปรับปรุงคุณภาพของทัวร์มาลีนจากแหล่งโมแซมบิกด้วยการเผาในบรรยากาศออกซิเดชัน ที่อุณหภูมิ 400, 500 และ 600 ° C พบว่าทัวร์มาลีนสีม่วงอมน้ำเงินและม่วงอมแดงที่เผาที่อุณหภูมิ 500 ° C เปลี่ยนเป็นสีฟ้าใกล้เคียงกับสีของพาราอิบาทัวร์มาลีน ทัวร์มาลีนสีม่วงอมมน้ำเงินเหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบในการเผาให้ได้สีฟ้าพาราอิบา เนื่องจากให้สีฟ้าที่เข้มกว่าทัวร์มาลีนสีม่วงแดงเมื่อเผาในสภาวะเดียวกัน จากการศึกษาสีและการดูดกลืนแสงของทัวร์มาลีนด้วย UV/ VIS/ NIR Spectrophotometer พบว่าทัวร์มาลีนทั้งสองกลุ่มสีหลังเผาเมื่อเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอมเขียวมีแถบการดูดกลืนแสงที่ 525 nm ซึ่งเป็นการดูดกลืนแสงของ Mn 3+ (ธาตุมลทินใฟ้สีแดงชมพูในทัวร์มาลีน) ลดลง เกิดการ shift ของ absorption edge ที่ตำแหน่ง 400 – 380 nm และเกิด charge transfer ของ Mn 2+ กับ Ti 4+ บริเวณ 690 nm ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ซ้อนทับกับการดูดกลืนแสงของ Cu 2+ (ธาตุมลทินให้สีฟ้า) ที่ 690 และ 900 nm ทัวร์มาลีนก่อนเปผาแสดงแถบการดูดกลืนที่ 1316, 1430, และ 1477 nm สัมพะนธ์กับการดูดกลืนของ OH ของโมเลกุลน้ำในโครงสร้างของทัวร์มาลีน ทัวร์มาลีนหลังเผาเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอมเขียวพบพีคใหม่ที่สัมพันธ์กับ OH ของโมเลกุลน้ำที่ 1400 nm การศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของทัวร์มาลีนด้วย FTIR spectroscopy พบว่าเอทีอาร์สปกตรัมของทัวร์มาลีนก่อนเผาแสดงโครงสร้างหลักของทัวร์มาลีนที่ตำแหน่ง 715, 782, 965 (Al - OH), 1100 (Mg - OH), 1300 (B- O) และ 3450 – 3750 cm -1 (O- H) เมื่อเปรียบเทียบกับเอทีอาร์สเปกตรัมหลังเผาที่ผ่านการทำ Peak Resolve พบว่าแถบการดูดกลืนบริเวณ finger print ของทัวร์มาลีนหลังเผามีการเปลี่ยนตำแหน่งมากที่สุดเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 600 ° C แสดงว่าโครงสร้างผลึกของทัวร์มาลีนมีการเปลี่ยนแปลงหลังได้รับความร้อน เมื่อประกอบกับผลของดิฟฟิวรีแฟลกแตนซ์สเปกตรัมของอินฟราเรดช่วงใกล้ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลน้ำในโครงสร้างทัวร์มาลีนที่สอดคล้องกับผลวีวิสิเบิลสเปกตรัมแล้ว จะสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจำแนกทัวร์มาลีนก่อนและหลังปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการเผาด้วยได้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2550 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject ทัวร์มาลีน - - การเผาไหม้ th_TH
dc.subject แร่ th_TH
dc.subject อัญมณี - - ไทย - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การปรับปรุงคุณภาพทัวร์มาลีนด้วยวิธีการเผา และการพิสูจน์เอกลักษณ์ทัวร์มาลีนที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุล th_TH
dc.title.alternative Heat treatment of tourmaline and identification of heat-treated tourmaline by molecular spectroscopy th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account