DSpace Repository

รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Show simple item record

dc.contributor.author ธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.author พวงมลี ศีหาราช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:21:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:21:15Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3089
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตของประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งได้ศึกษาตามการบริหาร 7 ด้าน 1) การบริหารงานทั่วไป 2) การบริหารงานด้านบุคลากร 3) การบริหารงานธุรการและการเงิน 4) การบริหารด้านงานปกครองนักเรียน 5) การบริหารด้านงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนชุมชน 6) การบริหารด้านงานวิชาการ 7) การบริหารด้านงานอาคารสถานที่ โดยใช้เทคนิค EDER กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสาธิต จำนวน 22ท่าน ซึ่งใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 4 ระดับสถิติที่ใช้ ได้แก่ มัธยฐาน และพิสัยอินเทอร์ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานด้านทั่วไป ควรจัดระบบบริหารองค์การในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และการจัดทำห้องสมุดให้บรรลุผลตามมาตรฐานคุณภาพ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2. การบริหารงานด้านบุคคล จัดให้มีการฝึกอบรมสัมนาเกี่ยวกับบุคลากรประจำปี ควรสร้างขวัญและกำลังใจด้วยการสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานได้มีการศึกษา และประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น 3. การบริหารด้านงานธุรการและการเงินควรจัดทำแผนการบริหารไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป้นเรื่องของแผนงาน โครงการงบประมาณของโรงเรียน 4) การบริหารด้านงานปกครองนักเรียนควรมีการสานสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ และผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ และควรมีการจัดการศึกษาพัฒนานักเรียนให้มีระเบียบวินะย คุณธรรม จริยธรรม 5) การบริหารงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ควรมีระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน 6) การบริหารด้านวิชาการ ควรจัดการบริหารในรูปของคณะกรรมการ โดยมีเจ้าของหรือผู้จัดการโรงเรียนเป็นประธานในการวางแผนการปฏิบัติงานด้านวิชาการที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการสอน 7) การบริหารด้านอาคารสถานที่ ควรกำหนดแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์และไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการที่เกี่ยวข้อง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.subject โรงเรียน - - การบริหาร - - ลาว th_TH
dc.subject โรงเรียนสาธิต - - การบริหาร - - ลาว th_TH
dc.title รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว th_TH
dc.title.alternative The administrative model for demonstration school of the Laopeople's Democrastic Republic en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 10
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative This research aims to study the schools management of demonstrative school in Lao's People Democratic Republic. It covered the seven administrative areas as: 1) general administratiin, 2) personnel management, 3) administration and financial management, 4) students' affair management, 5) relationships between the school and the community management, 6) academic management, and 7) school plants management, by using the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) techniques. The samples of this research consisted of 22 school-related professionals selected by purposive sampling. The research instruments were semi-structure interview and using 4 rating-scale questionnaires. Median and Interquartile Range were used for analyzing the data The finding were as follows: 1.General management should organize the system in tern of managing organizations in the sense of the course, teaching and practice of the library to achieve quality standards and defined goals 2. Personnel management. There should be annual training program for personnel staff. And should morale by encouraging attendees to be educated and more experienced. 3. Administration and financal management should be prepared Plans in advance, whether it is school projects, school budget. 4. Students' affair management. There should be coordination between teachers and parents regularly; should be students will behave in a good manner and absorbed moral and ethics. 5. Management on relationships between schools and communities should have the systems and mechanisms to promote relations and cooperation with the community. 6. Academic Administration should be managed in the form of a commission under the chair of the owner or president of the school. 7. Facilities management should formulate a plan of using the buildings beneficially. And should follow the rules, regulations and the government scheme involved. en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page 188-199.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account