Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสาร MTBE ของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นตัวอย่างประชากรจำนวน 91 นายจากสถานนี้ตำรวจนครบาล จำนวน 2 แห่ง ตัวอย่างตำรวจจราจรทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41.9 ปี ทำงานเป็นตำรวจจราจรมานานกว่า 10 ปี (ร้อยละ57.1) ทำงานเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อวันและ 6 วันต่อสัปดาห์ มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 96.1 โดยใช้ผ้าปิดจมูกและปาก และใช้ทุกครั้งเพียงร้อยละ 20.9 การเก็บตัวอย่างอากาศใช้ organic vapor motitor (3 m 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของตัวอย่างตำรวจจราจรทุกนายและมีการเก็บตัวอย่างเลือดหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า ปริมาณความเข็มข้นของสาร MTBE ในบรรยากาศ มีค่าอยู่ระหว่าง 21.1- 229.2 ppb และมีค่าเฉลี่ย 33.8 ppb (ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน = 30.63) และค่าระดับสาร MTBE ในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง0.016-0.134 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่าเฉลี่ย 0.019 มิลลิกรัมต่อลิตร (ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน = 0.013) นอกจากนี้พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเข็มข้นของสาร MTBE ในบรรยากาศแบบติดตัวบุคคลกับระดับสาร MTBE ในเลือด เนื่องจากสาร MTBE มีช่วงอายุสั้นและจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากการสัมผัส อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษษนี้ทำให้ตระหนักได้ว่า ตำรวจจราจรมีการสัมผัสสาร MTBE ที่ถูกเติมลงไปในน้ำมันเชื้อเพลิงและควรจะมีการให้ความรู้ถึงอันตรายของสาร MTBE ที่ถูกเติมลงไปในน้ำมันเชื้อเพลิงและควรจะมีการให้ความรู้ถึงอันตรายของสาร MTBE รวมทั้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องเหมาะสม organic vapor motitor (3 m 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของตัวอย่างตำรวจจราจรทุกนายและมีการเก็บตัวอย่างเลือดหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า ปริมาณความเข็มข้นของสาร MTBE ในบรรยากาศ มีค่าอยู่ระหว่าง 21.1- 229.2 ppb และมีค่าเฉลี่ย 33.8 ppb (ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน = 30.63) และค่าระดับสาร MTBE ในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 0.016-0.134 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีค่าเฉลี่ย 0.019 มิลลิกรัมต่อลิตร (ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน = 0.013) นอกจากนี้พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเข็มข้นของสาร MTBE
ในบรรยากาศแบบติดตัวบุคคลกับระดับสาร MTBE ในเลือด เนื่องจากสาร MTBE มีช่วง
อายุสั้นและจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากการสัมผัส อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า ตำรวจจราจรมีการสัมผัสสาร MTBE ที่ถูกเติมลงไปในน้ำมันเชื้อเพลิงและควรจะมีการให้ความรู้ถึงอันตรายของสาร MTBE ที่ถูกเติมลงไปในน้ำมันเชื้อเพลิงและควรจะมีการให้ความรู้ถึงอันตรายของสาร MTBE รวมทั้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องเหมาะสม