dc.contributor.author |
วัลลภา พ่วงขำ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:47:24Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:47:24Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/301 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวนทั้งสิ้น 178 คน ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างบุคลากร ชายและหญิง และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทย ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ ความถี่ ร้อยละ จำแนกตามเพศ อายุ
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของการตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา มีผู้เข้าร่วมจำนวน 178 คน เป็นเพศชาย 37 คน คิดเป้นร้อยละ 20.79 เป็นเพศหญิง 141 คน คิดเป็นร้อยละ 79.21 บุคลากรทั้งเพศชายและเพศหญิงส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 40-49 ปี
ข้อมูลทางด้านความถี่ของการออกกำลังกาย พบว่า บุคลากรหญิงมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอกว่าบุคลากรชาย ส่วนใหญ่เพศชายไม่ออกกำลังกายเลยร้อยละ 70.3 เพศหญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีเพียง ร้อยละ 12.9 ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 27.9 สำหรับกลุ่มอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำทั้งเพศชายและเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-29 ปี คิดเป็น ร้อยละ 51.4 และร้อยละ 45 ตามลำดับ
ผลการตรวจสมรรถภาพทางกยของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างบุคลากรชายและหญิงพบว่า สมรรถภาพทุกด้านของบุคลากรชายสูงกว่าบุคลากรหญิงยกเว้นความอ่อนตัว แต่เมื่อนำค่าต่าง ๆ ไปเปรียบเทียบการทดสอบสมรรถภาพทางกายของประชาชนชาวไทย พบว่า สมรรถภาพทางกายส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำมาก โดยแยกเป็นบุคลากรชายมีระดับสมรรถภาพความแข็งแรงของแขน ร้อยละ 37.8 ความแข็งแรงของการเหยียดขา ร้อยละ 40.5 และปริมาณไขมันในร่างกาย ร้อยละ 61.1 ต่ำมาก ความจุปอดต่อน้ำหนักตัว พบว่าเพศชายมีความจุปอดต่อน้ำหนักตัวร้อยละ 51.4 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบุคลากรหญิงมีระดับสมรรถภาพความแข้งแรงของการเหยียดขา ร้อยละ 31.2 ต่ำมาก ความอ่อนตัว ร้อยละ 21.2 ต่ำมากและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน ร้อยละ 61 ต่ำมาก
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สมรรถภาพทางการของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทยสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำมาก ระดับต่ำ ถึงระดับปานกลางตามลำดับ หน่วยงานควรสนับสนุนควรส่งเสริมให้บุคลากรออกกำลังกาย จัดหาสถานที่และอุปกรณ์ โดยเลือกกิจกรรมที่เป็นลักษณะการออำกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ควรมีการตรวจสอบสมรรถภาพทางกายบุคลากรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทุกคนทราบและตระหนักถึงภาวะสุขภาพทางกายของตนเอง และหลังการตรวจสมรรถภาพทางกายควรแจ้งผลการทดสอบทันทีพร้อมกับอธิบาย แนะนำ กิจกรรมการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย อายุ สภาพแวดล้อมที่พึงมีให้ทุกคน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ - - ข้าราชการและพนักงาน |
th_TH |
dc.subject |
สมรรถภาพทางกาย - - การทดสอบ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
Physical fitness test of health science center, Burapha University |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2549 |
|