DSpace Repository

ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลในสารสกัดจากแคลลัสของพืชสมุนไพรที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ.

Show simple item record

dc.contributor.author อรสา สุริยาพันธ์
dc.contributor.author สมสุข มัจฉาชีพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:43Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/29
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตต่อสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลในสารสกัดจากแคลลัสของมะระ (Monordica charantia L.) 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก (Bitter gourd) และมะระจีน (Bitter gourd) ที่เพาะปลูกทั่วไปในภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ การดำเนินงานวิจัย ศึกษาหาระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโต กลุ่มไซโตไคนินและออกซิน ที่สามารถชักนำให้เกิดแคลลัส และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแคลลัสมะระจีนและมะระขี้นกในสภาพปลอดเชื้อ วิเคราะห์ปริมาณทั้งหมดของสารฟีนอล โดยการนำแคลลัสมะระจีนและมะระขี้นกที่ เพาะเลี้ยงได้ไปทำให้แห้งด้วยวิธีการระเหิดภายใต้ความดันต่ำ จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดด้วยวิธี Folin-ciocalteu คำนวณปริมาณที่พบโดยการเทียบกับกรดแกลลิคซึ่งใช้เป็นสารฟีนอลอ้างอิง เปรียบเทียบกับมะระขี้นกและมะระจีนที่ปลูกในสภาพธรรมชาติ เตรียมเพาะเลี้ยงแคลลัสจากมะระจีนและมะระขี้นกในสภาพปลอดเชื้อที่ระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เหมาะสมของแต่ละส่วนของพืช แล้ววิเคราะห์ปริมาณทั้งหมดของสารฟีนอลจากแคลลัสมะระจีนและมะระขี้นกที่ได้จากแต่ละสภาวะการทดลอง และประเมินสมบัติการเป้นสารกำจัดอนุมูลของสารแคลลัสมะระจีนและมะระขี้นกด้วยเมธานอล การศึกษาผลของชนิดและปริมาณของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดในสารสกัดจากแคลลัสของมะระ (Momordica charantia L.) 2 สายพันธุ์ คือมะระขี้นก (Buitter gourd) และมะระจีน (Bitter cucumber) ที่เพาะปลูกทั่วไปในภาคตะวันออกขงประเทศไทย ขั้นตอนแรกคือการชักนำให้เกิดแคลลัสจากมะระทั้งสองชนิดในสภาพปลอดเชื้อ โดยเฉพาะเลี้ยงชิ้นส่วนต่าง ๆ บนอาหารสูตร Murashige and sjoog ดัดแปลงที่เติม 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) ร่วมกับ Benzyladenine (BA) ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล 2 ปัจจัยแบบสุ่มสมบูรณ์ (Two-factor factorial rxperiment in CRD) บันทึกอัตราการเจริญเติบโต ขั้นตอนที่สองคือการทำแห้งแคลลัสที่ได้ด้วยวิธีการระเหิดภายใต้ความดันต่ำ เพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติการเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ (DPPH' และ ABTZ'+) และปริมาณสารฟีนอลทั้งหมด ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนิดและปริมาณของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดในแคลลัสมะระ คือชิ้นส่วนของมะระขี้นก (ใบเลี้ยง ลำต้นใต้ใบเลี้ยง และใบแท้) ที่เพาะในอาหารเพาะเลี้ยงที่มี BA ในปริมาณสูง (2.0 มิลิลิกรัมต่อลิตร) ให้แคลลัสที่มีอัตราการเจริญเติบโตน้อย แต่มีปริมาณเฉลี่ยของสารฟีนอลทั้งหมดสูงกว่าแคลลัสที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง สำหรับชิ้นส่วนจากมะระจีนพบว่า มีอัตราการเจริญเติบโตเป็นแคลลัสที่ดีกว่าชิ้นส่วนจากมะระขี้นก แต่แคลลัสที่ได้มีปริมาณเฉลี่ยของสารฟีนอลทั้งหมดต่ำกว่า นอกจากนี้ชิ้นส่วนใบเลี้ยงในเมล็ดมะระจีนที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีให้แคลลัสที่มีปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดสูง ซึ่งแตกต่างจากเมื่อใช้แคลลัสจากชิ้นส่วนใบเลี้ยง และลำต้นใต้ใบเลี้ยงที่มีอัตราการเจีิอญเติบโตน้อย แต่มีปริมาณเฉลี่ยของสารฟีนอลทั้งหมดสูง ผลการประเมินสมบัติต้านอนุมูลอิสระ 2 ชนิด คือ DPPH' และ ABTZ' ของสารสกัดจากแคลลัสโดยใช้เมธานอลความเข้มข้นร้อยละ 80 เป็นสารสกัด พบว่า แคลลัสจากมะระทั้งสองสายพันธุ์แสดงสมบัติที่กีในการต้านอนุมูลอิสระ โดยแคลลัสมะระขี้นกมีค่าร้อยละของการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH' และ ABTZ'+ อยู่ในช่วง 46.96-90.53 และ 39.32-94.01 ตามลำดับ ขณะที่แคลลัสมะระจีนมีค่าร้อยละ ของการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH' และ ABTZ'+ อยู่ในช่วง 62.30-92.12 และ 48.73-94.54ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารฟีนอลทั้งหมดและความสามารถในการต้านอนุมณลอิสระ แสดงให้เห็นว่าสารที่มีสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีในแคลลัสอาจไม่จัดเป็นสารในกลุ่มของสารฟีนอล th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณเงินแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้แผนงานวิจัย สมุนไพรและภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยในภาคตะวันออก พ.ศ. 2552
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject สมุนไพร - - การสกัด th_TH
dc.subject แอนติออกซิแดนท์ th_TH
dc.subject สารยับยั้ง th_TH
dc.subject สารสกัดจากพืช th_TH
dc.subject อนุมูลอิสระ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลในสารสกัดจากแคลลัสของพืชสมุนไพรที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ. th_TH
dc.title.alternative Effect of plant growth regulators on free radical scavenging activities and phenolic content of extracts from selected medicinal plant callii cultured in vitro en
dc.type Research
dc.year 2552


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account