Abstract:
การวิจัยเชิงพรรณาชนิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าได้แก่ ความคิดอัตโนมัติทางลบ การครุ่นคิด การแก้ปัยหาทางสังคม และเหตุการณ์ในชีวิติเชิงลบของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 400 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยแบ่งเป็น 6 ส่วนได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น แบบสอบถามความคิดอัตโนมัติทางลบ แบบสอบถามลักษณะความคิดแบบครุ่นคิด และแบบสอบถามเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 49.00 จำแนกเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 30.75 และภาวะซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 18.25 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความคิดอัตโนมัติทางลบ การครุ่นคิด การแก้ปัยหาทางสังคม เหตุการณ์ ในชีวิตเชิงลบ การครุ่นคิด การแก้ปัญหาทางสังคม เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ร้อยละ 49.90 (R2 = .499, F = 98.431, p < .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสูงสุด คือ ความคิดอัตโนมัติทางลบ (β = .477, p <.001) รองลงมา ได้แก่ การแก้ปัญหาทางสังคม (β ช -.191, p <.001) การครุ่นคิด (β ช -.154, p <.001) และเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ (β ช -.110, p <.001) ตามลำดับ โดยสมการทำนายภาวะซึมเศร้าในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z ภาวะซึมเศร้า =0.477 Zความคิดอัตโนมัติเชิงลบ -0.191Zการแก้ปัยหาทางสังคม+0.154การครุ่นคิด+0.110Zเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าของนักศึกาาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นประเด็นที่สำคัญและต้องตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพจิตที่มุ่งเน้นการปรับความคิดอัตโนมัติทางลบการครุ่นคิด เหตุการณ์ชีวิตในทางลบ รวมทั้งส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางสังคม