DSpace Repository

สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข

Show simple item record

dc.contributor.author สุวดี สกุลคู
dc.contributor.author สหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.author บุษบงค์ ตุ้มสวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:20:02Z
dc.date.available 2019-03-25T09:20:02Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2850
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข การศึกษาประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะ ของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 18 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลเพื่อนำไปสร้างแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 358 คนที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข 16 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโยใช้ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในภาพรวมอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก สมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยระดับสูงมาก (M = 3.50-4.00) ได้แก่ สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานและกฎหมายวิชาชีพ (3 รายการ) และสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลตามจรรยาบรรณวิชาชีพโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (7 รายการ) จากผลการ วิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารการพยาบาลควรกำกับดูแล และส่งเสริมให้พยาบาลงานตามมาตรฐานและ จรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการพัฒนาความสามารถในด้านการปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป th_TH
dc.language.iso eng th_TH
dc.subject ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - - การดูแล th_TH
dc.subject พยาบาล th_TH
dc.subject สมรรถนะ th_TH
dc.subject สมรรถภาพในการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 21
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative This research aimed to describe the professional nurses’ competencies in caring for patients with Chronic illness in the general and regional hospitals, Ministry of Public Health. The research methodology consisted of two main steps. The first step was the study of the opinions of 18 experts about professional nurses’ competencies through in-depth interview. Then, content analysis was used to develop the questionnaires. The second step was the survey of opinions of professional nurse on competencies in caring for patients with chronic illness. The sample consisted of 358 professional nurses who worked in the medical wards of 16 general and regional hospitals, Ministry of Public Health. The instruments for data collection were the demographic questionnaires and the professional nurses’ competencies in caring for patients with chronic illness questionnaires. Crobach’s alpha coefficient was of .97 The data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The results showed that the overall mean scores of professional nurses’ competencies in caring for patients with chronic illness ranged from high to the highest levels. The highest mean score (M= 3.50-4.00) of the competencies were the standard and law of nursing care competency (3 items) and the ethics and human right of nursing care competency (7 items). It is suggested that executive nurses should monitor and encourage nurses to care the patients based on nursing ethics and standardization along with developing nursing care competency in providing care for chronic illness patients. en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page 36-47.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account