DSpace Repository

ผลของโปรแกรมสนทนาบำบัดครอบครัวต่อสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่น และพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัวในวัยรุ่นที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์

Show simple item record

dc.contributor.author วรรณรักษ์ หนูเพชร
dc.contributor.author วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.author จินตนา วัชรสินธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:58Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:58Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2846
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกมสนทนาบำบัดครอบครัวต่อสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่นและพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัว ในวัยรุ่นที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ วัยรุ่นทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 13-19 ปี ที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์และครอบครัว จำนวน 20 ครอบครัว แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 ครอบครัว และกลุ่มควบคุม 10 ครอบครัว โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนทนาบำบัดครอบครัว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่นและครอบครัว สัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่น และพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัว เก็บข้อมูลก่อนการทดลองห่สงกัน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์และครอบครัว กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสนทนาบำบัดครอบครัวมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยสัมพันธภาพในครอบครัว ผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่น และผลต่างคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=2.86, p=.01 ; t=4.72, p=<.01 c]t t=5.06, p<.01 ตามลำดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรม สนทนาบำบัดครอบครัวเพิ่มสัมพันธภาพในครอบครัว ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่นและพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัวมากขึ้น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้อง นำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อเสริมสร้างให้วัยรุ่นที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์และครอบครัว ได้มีสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่นและพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัวที่เหมาะสมต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject กลุ่มอาการหายใจเกิน th_TH
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง th_TH
dc.subject การหายใจ th_TH
dc.subject ความสัมพันธ์ในครอบครัว th_TH
dc.subject สนทนาบำบัด th_TH
dc.subject โรคหอบทางอารมณ์ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ผลของโปรแกรมสนทนาบำบัดครอบครัวต่อสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองของวัยรุ่น และพฤติกรรมการดูแลโดยครอบครัวในวัยรุ่นที่เป็นโรคหอบทางอารมณ์ th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 22
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of a family therapeutic conversation program on family relationship, adolescents, self-care behaviors, and family care behaviors of adolescent with Hyperventilation syndrome. The sample included 20 pairs of 13-19 years-old males and females adolescent with Hyperventilation syndrome and their family. They were randomly assigned to experimental and control group (10 families for each group). The experimental group received a family therapeutic conversation program for 4 weeks. The experimental instruments included an activity plan, models and information sheets. Instruments used for data collection consisted of demographic and the family relationship questionnaire, adolescent self-care behaviors questionnaire, and family care behaviors questionnaire in adolescents with Hyperventilation syndrome. Data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation, and t-test. The result revealed that adolescent with Hyperventilation syndrome and their family who received family therapeutic conversation program had higher scores on family relationship, adolescent self-care behaviors and family care behaviors of adolescent with Hyperventilation syndrome. Their discrepancy mean scores were higher significant as compared to those of the adolescent with Hyperventilation syndrome and their received the regular care (t=2.86, p=.01; t=4.72, p<.01 and t=5.06, p<.01 respectively). This finding the family therapeutic conversation program intervention can increase family relationship, adolescents self-care behaviors and family care behaviors of adolescents with Hyperventilation syndrome. Therefore, nurse can apply this program to improve family relationship, adolescents self-care behaviors and family care behaviors of adolescents with Hyperventilation syndrome en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page 50-60.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account