DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง

Show simple item record

dc.contributor.author บงกช นิลอ่อน
dc.contributor.author ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.author นุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:57Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:57Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2839
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยที่มีอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งป่วยด้วยภาวะชักจากไข้สูงที่เข้ารับการรักษาในหอ ผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 40 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกกลุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .83 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า มารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงหลังสิ้นสุดการทดลองทันทีสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t19 = 39.16, p < .001) และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ มารดามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t19 = 42.22, p < .001) และคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงของมารดาในกลุ่มทดลองภายหลังสิ้นสุดการทดลองทันที และภายหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 สัปดาห์ สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t38 = 29.48, p < .001 และ t38 = 36.35, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาไปใช้ในการพยาบาลบุตรป่วยเพื่อช่วยส่งเสริมให้มารดามีความรู้ความเข้าใจ เสริมทักษะในการดูแล และสร้างความมั่นใจในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การชัก th_TH
dc.subject ผู้ป่วยเด็ก - - การดูแล th_TH
dc.subject มารดาและบุตร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject เด็ก - - การดูแล th_TH
dc.title ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อความสามารถในการดูแลบุตรที่มีภาวะชักจากไข้สูง th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 22
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research, pretest-posttest design aimed to study the effects of the maternal participation promoting program on ability to care their children with febrile convulsion. The sample included 40 mothers of children with 6 months to 5 years of age admitted in the Pediatric Unit I, Chonburi Hospital. Data were collected during December 2012 to March 2013. The sample were random assignment into experimental and control groups which were 20 equally. The experimental group received the maternal participation promoting program to care for the children with febrile convulsion and the control group received routine nursing care. The research instruments were the maternal participation promoting program to care for the children with febrile convulsion demographic questionnaire and questionnaire of maternal ability to care for their children with febrile convulsion. The content validity index was .83 and value of Cronbach’s alpha coefficient was .85. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results showed that the mean score of maternal ability to care for their children with febrile convulsion of experimental group after immediately completing the program was significantly higher than those before receiving the program (t19 = 39.16, p < .001) and one week after completing the program mean score of maternal ability to care for their children with febrile convulsion was significantly higher than before receiving the maternal participation promoting program (t19 = 42.22, p < .001) Moreover the score of maternal ability to care for their children with febrile convulsion experimental group after completing the program and one week after completing the program were significantly higher than those the control group (t38 = 29.48, p < .001) and (t38 = 36.35, p < .001). These findings recommend that nurses and health care personal should apply this program for caring of children with febrile convulsion in order to enhance maternal knowledge, skill and confidence for caring of children with febrile convulsion effectively en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page 29-41.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account