Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการและการได้รับกาตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นตามแนวคิดความต้องการของกาลิโอเน (Gaglione, 1984) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดเท่ากับ .84 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนเฉลี่ยความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 61.15, SD = 4.74)ส่วนรายด้านพบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (= 37.95, SD = 2.98) ด้านอารมณ์อยู่ในระดับมาก (= 15.92, SD = 1.64) และด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (= 7.28, SD = 1.02)
2. คะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 56.68, SD = 4.70) ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (= 36.44, SD = 3.34) ด้านอารมณ์อยู่ในระดับมาก (= 15.13, SD = 1.70) และด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (= 7.11, SD = 0.91)
3. เปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการจากการเยี่ยมก่อนผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่พบว่า ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.91, P = .005) ส่วนรายด้านพบว่า ความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.83, P = .006) ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.44, P = .017) และความต้องการและการได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณไม่แตกต่างกัน (t = 1.21, P = .230)
ผลการวิจัยนี้ พยาบาลสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาคุณภาพการเยี่ยมก่อนผ่าตัดด้วยการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ ด้านข้อมูลข่าวสารและอารมณ์เพิ่มขึ้น