dc.contributor.author | สุกัญญา เจริญวัฒนะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:51Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:51Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2777 | |
dc.description.abstract | อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัวแปรพื้นฐานสำคัญของการออกกำลังกายที่บ่งบอกความสัมพันธ์ของสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ เช่น เพศ, วัย เป็นต้น เมื่อมีการออกกำลังกายหัวใจจะทำงานมากขึ้นซึ่งเป้นผลการทำงานของระบบประสาทซิมพาธีติก, พาราซิมพาธีติก, การหลั่งแอดรินาลินและนอแอรินาลินจากต่อมหมวกไต อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกายนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการขนส่งออกซิเจนของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นหรือเรียกว่าเป็นการเพิ่ม Oxygen consumption (V O2) ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มสมรรถภาพในเชิงแอโรบิก การวัดอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายมี 2 วิธี ได้แก่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่สัมผัสได้จากผิวหนัง เช่น บริเวณข้อมูล และการใช้เครื่องมือวัด โดยมีหน่วยเป้นจำนวนครั้งต่อนาที การวัดอัตราการเต้นของหัวใจมีหลายแบบเช่น การวัดในขณะพัก ขณะออกกำลังกายและการวัดอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด การวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักควรทำภายหลังการตื่นนอนตอนเช้าประมาณ 2-5 นาที ในขณะนอนบนเตียงและไม่มีการเคลื่อนไหว ใช้การนับอัตราการเต้นของหัวใจใน 60 วินาที โดยการวัด 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อค่าที่แม่นยำ การสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักที่เปลี่ยนแปลงมากกว่าหรือน้อยกว่า 10 ครั้งต่อนาทีในช่วงที่มีการฝึกซ้อมกีฬามักเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยและการฝึกซ้อมที่หนักเกินไป (overtraining) ควรแจ้งให้โค้ชหรือแพทย์ประจำทีมทราบเพื่อตรวจให้แน่ชัด อัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายเป็นตัวบ่งชี้ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีวิทยาเมื่อมีการฝึกการออกกำลังกายในเชิงแอโรบิกเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนที่ความหนักของงานต่ำกว่า 85% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (submaximal exercise) จะแสดงผลการเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง 10-15 ครั้งต่อนาที การกำหนดความหนักของการออกกำลังกายสามารถกำหนดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่หัวใจสามารถบีบตัวได้ 1 นาที โดยตัวเลขที่แสดงร้อยละของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะแสดงค่าความหนักของงานที่สามารถส่งผลกับระดับสมรรถภาพทางกายที่แตกต่างกัน โดยระดับความหนักจากค่าร้อยละ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดกับร้อยละของอัตราการขนส่งออกซิเจนของกล้ามเนื้อสูงสุด (V O2 max) มีความแตกต่างกันของตัวเลขถึงร้อยละ 5-10 นักกีฬาและผู้ออกกำลังกายจึงควรใช้ค่าของการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพื่อการบ่งชี้การใช้ออกซิเจนของร่างกาย ดังนั้นการวางแผนการฝึกและการออกกำลังกายควรมีการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจแต่ละบุคคลโดยการจดบันทึกทุกวัน เพื่อใช้ประกอบกับการจัดความหนักหรือความเข้มข้นที่เหมาะสมจากการฝึกและการออกกำลังกาย โดยสามารถรักษาระดับความสมบูรณ์ของร่างกายและสมรรถภาพระบบหัวใจและหลอดเลือดให้คงสภาพได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การฝึกกีฬา | th_TH |
dc.subject | การออกกำลังกาย | th_TH |
dc.subject | อัตราการเต้นของหัวใจ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | อัตราการเต้นของหัวใจกับการออกกำลังกายและการฝึกกีฬา | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 5 | |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | Heart rate is a parameter of exercise that basically reflects cardiovascular fitness. Its can be varied from many factors such as gender, age etc. Besides the heart increase workload from exercise, it is affected from sympathetic & parasympathetic nervous system and adrenalin & noradrenalin hornones from adrenal glands. Therefore the increase of heart rate is relatives to oxygen consumption (V O2) and aerobic capacity. Heart rate in exercise measuring 2 methods, they are palpation of skin takes from pulse area such as radial pulse and machine montior. The unit is beats per minutes (bpm). Heart rate of exercise indicators are resting heart rate; RHR, exercixe heart rate; EHR, maximumheart rate; MHR. Firsting, resting heart rate should be taken after waking up in the morning 2-5 minutes, lying on the bed, no activity, and observe heart rate in 60 seconds. The average in 3 days is considerable. If athletes in training period find resting heart rate change over or lower 10 bpm, it may results in sickness or overtraining which should be consult coach and doctor. secondly, exercise heart rate is an indicator for physiological adaptation from exercise. For training sudmaximal exercise (intensity lowers 85% maximum heart rate) 3-6 months, it can decrease heart rate 10-15 bpm whice indicates that improvement of cardiovascular fitness. In short, exercise intensity can be planning from maximum heart rate, heart beat in 1 minute, and the percentage from maximum heart rate shows level of intensity that effect to different fitness. Classification of exercise intensity percentage from MHR is about 5-10 percentage less than percent V O2 max which can encourage percentage V O2 max indicate oxygen consumption to athlete and others. It can be conclude that training and exercise should be monitoring heart rate individual everyday, and planning proper intensity to maintain performance and cardiovascular fitness. | en |
dc.journal | วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา | |
dc.page | 34-48. |