dc.contributor.author | พรนภา หอมสินธุ์ | |
dc.contributor.author | กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล | |
dc.contributor.author | รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:48Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2731 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อทัศนคติต่อการสื่อสารเรื่องเพศความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรและทักษะการสื่อสารเรื่องเพศของมารดาที่มีบุตรวัยรุ่นหญิงตอนต้นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ มารดาอายุระหว่าง 30-50 ปี ที่มีลูกสาววัยรุ่นอยู่ในช่วงอายุ 11-15 ปี จำนวน 60 คน โดยเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน ทั้งสองกลุ่มจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด การคบเพื่อนต่างเพศ การจัดการกับอารมณ์ทางเพศ และหลักการสื่อสารในครอบครัว เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เฉพาะกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่ใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม (AIC) ที่ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ชุดๆละ 60-90 นาที ในวันเสาร์ 2 ครั้งได้แก่ กิจกรรมกลุ่มย่อยการอภิปราย ฉายวิดีโอ การแสดงบทบาทสมมติ และฝึกอบรมทักษะการสื่อสาร นอกจากนี้มารดาในกลุ่มทดลองจะได้รับเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการสื่อสารกับลูกวัยรุ่นการจัดการกับความรู้สึกที่ไม่สะดวกใจที่จะพูดการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยง หลักการพูดจูงใจ และการหาโอกาสที่จะสื่อสาร และมารดาจะได้รับการบ้านให้กลับไปฝึกสื่อสารกับลูกของตนเองที่บ้านภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อนำผลกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ประเมินผลทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเองและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square test, Independent t-test และDependent t-test ผลการวิจัยพบว่ามารดาในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่วนร่วมมีทัศนคติในการสื่อสารเรื่องเพศ (p<.001) ความสะดวกใจในการสื่อสาร (p<.05) และทักษะการสื่อสารเรื่องเพศ (p<.05) ดีกว่ามารดาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับ การสื่อสารเรื่องเพศมีบทบาทสำคัญการพัฒนาศักยภาพมารดาในการสื่อสารกับลูกสาวเกี่ยวกับการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การสื่อสาร | th_TH |
dc.subject | มารดาและบุตรสาว | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | เพศ | th_TH |
dc.title | ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาต่อการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างมารดาและบุตรวัยรุ่นหญิงตอนต้น | th_TH |
dc.title.alternative | Effects of mother-participating program on sexual communication between mother and early female adolescents | en |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 8 | |
dc.year | 2556 | |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experimental research was aimed to examine the effects of motherparticipating program of communication on attitudes of parent-adolescent communication, comfort with communication related to sexual topics, and communication skill. A sample of 60 mothers of adolescent females was randomly assigned to treatment group (n=30) and control group (n= 30). Both groups received knowledge content about birth control and condom use, going out with boyfriends, contraceptive use, managing sexual desire and principles of family communication for 2 hours. Intervention group was received the Appreciation-Influence-Control (AIC) Interventions consisted of five 60–90 minutes modules implemented on two consecutive Saturdays, including small-group discussions, videos, interactive exercises such as role–plays, and skills-building activities. Mothers in treatment group also received content to support sexual–specific communication (e.g., parental values and standards about sex, how to avoid risky situations, dealing with discomfort about communication) and parent–adolescent communication in general (e.g., aspirations for their children, creating opportunities for communication). Mothers were provided with “homework” that was to be completed with their adolescent in between sessions as a means of practicing some of the communication strategies presented in the program within 2 weeks. Measures were administered at baseline and 2-weekposttest. Data were collected by self-administered questionnaires and analyzed by Chi-square test, Independent t-test and Dependent t-test. The findings indicated that mothers in the Mother-Participation Intervention had significantly more positive attitudes towards communication (p < .001), more comfort with communication (p < .05), and more skills of sexual risk communication (p < .05) than mothers in the control group. This result suggested that participation learning played important role to develop maternal competency of communication with daughter about sexual initiation and safe sex. | en |
dc.journal | วารสารสาธารณสุขศาสตร์ = Journal of public health | |
dc.page | 69-80. |