DSpace Repository

การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษาบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี.

Show simple item record

dc.contributor.author นิภา นภาเศรษฐ์
dc.contributor.author ทิพย์วรรณ อิศรางกูร
dc.contributor.author พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:47Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:47Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2721
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษา บ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร จังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และ (3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดกับบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับสนทนากลุ่มย่อย คือ คณะกรรมการโครงการ กข.คจ.บ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด รวมสมาชิกในโครงการจำนวน 20 คน และคณะกรรมการโครงการ กข.คจ.บ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และสมาชิกโครงการจำนวน 11 คน ได้ผลการวิจัยดังนี้ ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด พบว่าคณะกรรมการได้มาโดยวิธีการประชุมเลือกตั้ง ทั้งหมดมีจำนวน 9 คน ในการวางแผนการทำงานจะให้ความสำคัญเรื่องการพิจารณาปล่อยเงินยืม โดยสื่อสารให้สมาชิกนำแบบฟอร์มการยืมเงินไปกรอกและพิจารณาการยืมเงินจากวัตถุประสงค์การยืม มีการใช้ศาลาประชาคม หมู่ที่ 4 บ้านหนองมาตรเป็นสถานที่ประชุมโดยคณะกรรมการรับผิดชอบตามหน้าที่ที่แบ่งงานกันในส่วนของการดำเนินงาน คณะกรรมการมีหลักเกณฑ์คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายโดยพิจารณาครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. และครัวเรือนยากจนที่มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพเสริม และมีการพิจารณาจากโครงการที่ส่งมา โดยดูจากเหตุผลและความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งประมาณกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี สมาชิกที่ยืมเงินไปต้องส่งใช้คืนเงิน หลักจากนั้นกรรมการจะพิจารณาอนุมัติเงินยืมใหม่ โดยกระบวนการพิจารณาเงินยืมประมาณ 1 อาทิตย์ แต่กระบวนการขั้นตอนจนถึงการเบิกจ่ายใช้เวลาประมาณครึ่งเดือน ในการจ่ายเงิน/โอนเงิน นายอำเภอบ่อไร่จะเป็นผู้ลงนาม ส่วนใหญ่สมาชิกจะยืมเงินไปประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในส่วนของการจูงใจ คณะกรรมการมีการแจ้งให้ผู้ยืมทราบว่าถ้าคืนเงินเร็วก็ยืมเงินรอบใหม่ได้เร็ว ในเวลาที่มีปัญหาคณะกรรมการจะนำมาพูดคุยกัน ร่วมกันหาทางออก ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในส่วนของการควบคุม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนให้ครัวเรือนที่มีความต้องการให้ผลัดกันยืมเงิน และมีคณะกรรมการติดตามสมาชิกที่กู้ยืมเงินไป โดยวิธีการพูดคุยและเยี่ยมเยียน ผลลัพธ์ คือ ครัวเรือนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านดาวเรือง ตำบลพลับพลา อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า คณะกรรมการได้มาโดยการคัดเลือกจากชาวบ้านผ่านเวทีประชาคมมีจำนวน 11 คน ในส่วนของการวางแผนให้ความสำคัญต่อการพิจารณาการปล่อยเงินยืม ตามความจำเป็นและเหมาะสมใช้สถานที่บ้านอาจารย์ลิ้นจี่ อตัญที เป็นศูนย์ปฏิบัติการ คณะกรรมการทุกคนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีและทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้ ในส่วนของการดำเนินงานคณะกรรมการมีหลักเกณฑ์คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายโดยพิจารณาครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. และครัวเรือนยากจนที่มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพ การเบิกจ่ายเงินคณะกรรมการโอนเงินให้ผู้ยืม ผ่านธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “โครงการ กข.คจ. บ้านดาวเรือง” สมาชิกส่วนใหญ่ยืมเงินไปประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในด้านการจูงใจ คณะกรรมการมีการจูงใจให้ครัวเรือนเป้าหมายปฏิบัติตามกฎโดยกรรมการแนะนำสมาชิกให้มีวินัยในการใช้เงินและคืนเงินให้ตรงเวลา และเมื่อมีปัญหาคณะกรรมการจะนำมาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ส่วนการควบคุม มีการหมุนเวียนเงินยืมให้กับครอบครัวเป้าหมายเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยที่จะมีคณะกรรมการติดตาม กำกับ ดูแล ครัวเรือนเป้าหมายที่ยืมเงินไป ผลลัพธ์คือคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเป้าหมายดีกว่าเดิม ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดกับบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ประเด็นที่เหมือนกัน การได้มาของคณะกรรมการของทั้ง 2 หมู่บ้านมีการคัดเลือกผ่านเวทีประชาคม ด้านการวางแผน ให้ความสำคัญต่อการพิจารณาการปล่อยเงินยืม ตามความจำเป็นและเหมาะสมว่าจะนำเงินไปประกอบอาชีพ ด้านการจัดองค์กรทั้ง 2 หมู่บ้านมีรูปแบบการจัดองค์กรที่เหมือนกันประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการและกรรมการ ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีกระบวนการพิจารณาการให้ยืมเงินให้สมาชิกที่ยืมเงินไปต้องส่งเงินคืนหลังจากนั้นคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติเงินยืมใหม่ ด้านการจูงใจ มีการประชาสัมพันธ์ให้กับสมาชิกว่าถ้ามีการนำเงินมาคืนเร็วก็จะพิจารณาปล่อยกู้ในรอบใหม่ได้เร็ว ด้านการควบคุม มีคณะกรรมการโครงการคอยกำกับ ดูแล ติดตามสมาชิกในโครงการและการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนให้ครัวเรือนที่มีความต้องการให้ผลัดกันยืมส่งผลให้ทั้ง 2 หมู่บ้านจะมีผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม ประเด็นที่แตกต่างกัน บ้านดาวเรืองมีคณะกรรมการ 11 คนและทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันแต่บ้านหนองมาตรมีคณะกรรมการ 9 คน และทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไม่มีการสลับหน้าที่ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน th_TH
dc.subject การพัฒนาสังคม -- ไทย -- จันทบุรี
dc.subject การพัฒนาสังคม -- ไทย -- ตราด
dc.subject ความจน
dc.title การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีศึกษาบ้านหนองมาตร ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และบ้านดาวเรือง หมู่ที่ 10 ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 9
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative Abstract The objectives of the research “The Implementation of Poverty Reduction: a Case Study of Ban Nong Mart, Tambon Chang Thun, Borai District, Trat Province and Ban Daw Reung No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province” is intended to focus on these objectives ( 1 ) to study the implementation of poverty reduction: a case study Ban Nong Mart Tambon Chang Thun Borai District, Trat Province. ( 2 ) to study the implementation of the poverty reduction of the Ban Daw Reung, No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province and ( 3 ) to compare the implementation of poverty reduction between Ban Nong Mart Tambon Chang Thun Borai District , Trat Province and Ban Daw Reung No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province. Qualitative research methods was employed. The data was collected from interviewing 20 members of Poverty Reduction Committee from Ban Nong Mart, Tambon Chang Thun, Borai District, Trat Province and 11 members of Poverty Reduction Committee of Ban Daw Reung , No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province. The study result of the poverty reduction implementation in Ban Nong Mart, Tambon Chang Thun, Borai District, Trat Province was found that the 9 member committee were formed by election. The main implementation of the planning is giving loan by ask all members to bring the loan application form to fill in and consider with the loan objective. The community hall in group 4, Ban Nong Mart is used for committee meeting in order to share the work responsible for individual member. The committee also has the principle to select a household by considering with Basic Needed Information. The poor households included the ones who have the willingness to making a living and they are also considered with the project by viewing with reasons and possibility which often taken in the middle of August every year. The members who borrow Money and pay back, the committee considers to approve new loan. The process of loan consideration takes one week to go, but the step process to finally loan approval will take half a month. In the money payment or saving, the head of Borai District has to give approval signature. Mostly, the members borrow that loan to run a small business such as growing vegetable in their home area, feeding local animal and so on. In the motivation, the committee has informed the loan takers that the new loan will proceed faster if the old one is paid back earlier before the deadline. If they pay back late, the new process of loan will be late as well. The committees also stay connected with the loan takers if they have any problems and discuss to find the solution. All support is provided to citizens to encourage them for success. The output revealed that the households that join the project have received their standard of living better than before. The study result of the poverty reduction implementation Ban Daw Reung , No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province was found that the committee selected from the community election consists of 11 members. The important aspect of planning is focusing on loan conducting. Necessarily and suitably, the loan is taken to start small businesses by using the home of Teacher Lynchee Atanthy as an operational place. All work operators have performed their given tasks very well and every one can replace each other roles in the work process. The committee has its own principle to select household by considering with Basic Needed Information (Chor, Po, Thor.), poor household, the citizens who has the true willingness to run a small business, and the payment and saving process is registered with Krung Thai Bank account named “ K,Kh. Kh,Ch. Ban Daw Reung”. Most citizens take loan to start a business such as growing vegetable in the home area, feeding the local animals and so on. In the motivation management, the committee has the rule of motivation which followed with the law to make all loan takers have discipline about using loan and pay back on time and when they have problem, they can come to discuss with the committee to find the good solution. There is also a monitoring process to stay connected with citizen. The output revealed that the households that join the project have received their standard of living better than before. The result to compare the implementation of poverty reduction between Ban Nong Mart, Tambon Chang Thun, Borai District , Trat Province and Ban Daw Reung , No. 10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province. The results revealed that: Agreement, the formation of both committees is proceed by local community election. Planning is focus on conducting loan whether the citizens take the loan to run a business or for what. The organization chart of both committees is the same which has a director of committee, a deputy director of committee, a treasurer, secretary and committee. In the implementation process, there is the consideration to offer loans. Besides, the committees consider the members who borrow money and pay back, the committee considers approve new loan.The motivation implementation. There is a public relation to inform the citizens that if the money is paid back earlier or on time, the new loan process will be faster. Control, The committee also a monitoring process to stay connected with citizens to take care of them whether they have problems and emphasizes on rotating the household to take the loan The output has showed that the households that join the project have received their standard of living better than before. Disagreement, The committee Ban Daw Reung, No.10, Tambon Plub Pla, Muang district, Chanthaburi Province consists of 11 members and every one can replace each other roles in the work process but the committee Ban Nong Mart, Tambon Chang Thun, Borai District, Trat Province consists of 9 members and everyone have performed their given tasks. Roles are not replaced each other in the work process. en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page 33-46.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account