dc.description.abstract |
ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เชิงพรรณนาความสัมพันธ์นี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและแนวโน้มการใช้ความรุนแรงของครอบครัวที่มีเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบิดาหรือมารดาที่มีบุตรอายุ 1 ถึง 6 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ประมงและท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี จำนวน 408 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับความเครียดของบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา การสื่อสารในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว แนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการสื่อสารในครอบครัว (r = .32, .22, .15, และ .36 ตามลำดับ, p<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุของบิดามารดา ความเครียดของการเป็นบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา (r =-.17, -.23, -.27 ตามลำดับ, p<.05) นอกจากนี้ ปัจจัยทีมี่ความสัมพันธ์ทางบวก กับแนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ความเครียดของการเป็นบิดามารดา ความซึมเศร้าของบิดามารดา (r = .41, และ .67 ตามลำดับ, p<.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับแนวโน้มการใช้ความรุนแรงต่อเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการสื่อสารในครอบครัว และความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก (r = -.16, -.12, -.42, -.40 และ -.27 ตามลำดับ, p<.05) สรุปว่าการเพิ่มความรู้ เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแก่บิดามารดาจะส่งผลให้ครอบครัวมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงต่อเด็กน้อยลง ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการลดความรุนแรงต่อเด็ก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลากรทางสุขภาพจะต้องเข้าใจบริบทครอบครัวในด้านการศึกษาของบิดามารดา รายได้ครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสารในครอบครัว ความเครียดและความซึมเศร้าของบิดามารดา ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแก่บิดามารดา และแนวโน้มใช้ความรุนแรงต่อเด็ก
Family is the important environment influencing a child health and development.The purpose of this correlational research was to examine the relationship between selected factors and knowledge about child development and child-abuse risk in families with young children. The sample consisted of 408 parents with children between 1-6 years of age living in industrial, agricultural, fishery, and tourist areas in Chonburi Province. The sample was obtained with the cooperation of the local administrative organization in each sub-district with the consent of each family. The measurement instruments used in this study were six questionnaires consisting of the followings: PSI; family communication; child-abuse risk; CES-D; family relations; and knowledge about child development. Descriptive statistics, including percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation, were performed for data analysis.
The results showed that knowledge about child development had a significantly positive relationship with parent's education, family income, family relationship, and family communication (r =.32, .22, .15, and .36 respectively, p<.05), but had significantly negative relationship with parents age, parenting stress, and parent depression (r = -.17, -.23, and -.27 respectively, p<.01). Child abuse risk had a significantly positive relationship with parenting stress and parent depression (r = .41 and .67 respectively,p<.05), but had a significantly negative relationship with parent's education, family income, family relationship, family communication, and knowledge about child development (r = -.16, -.12, -.42, -.40 and -.27 respectively, p<.05). Increasing knowledge about child development might reduce child-abuse risk in families. Therefore, promoting child development, it is essential for nurses to understand the context of the family, particularly in the areas of parent's education, parent stress and depression, family communication, knowledge about child development, and child-abuse risk. |
th_TH |