Abstract:
จากการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยอาศัยเทคนิคเดลไฟ (Delphi Technique) โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ทำงานในการแปลผลคุณภาพน้ำเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดย่อย และค่าน้ำหนักของแต่ละดัชนีชี้วัดย่อยที่มีความสำคัญในการแปลผลคุณภาพน้ำและทำการปรับค่าดัชนีชี้วัดแต่ละตัวให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน (ร้อยละระดับคุณภาพน้ำ) เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการแปลผลคุณภาพน้ำ ซึ่งได้ผลการศึกษาดังนี้
จากแบบสอบถามความคิดเห็นในการคัดเลือกดัชนีชี้วัดครั้งที่ 1 จากดัชนีชี้วัดทั้งหมด จำนวน 46 ตัว ผลการคัดเลือกดัชนีชี้วัดย่อยที่มีความสำคัญในการแปลผลคุณภาพน้ำ พบว่ามีดัชนีชี้วัดที่เข้าเกณฑ์ จำนวน 14 ตัว ดังนี้คือ บีโอดี ออกซิเจนละลายน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่าง ตะกั่ว โคลิฟอร์มทั้งหมด แคดเมียม อุณหภูมิ ความขุ่นฟีคอลโคลิฟอร์ม ปรอท โครเมียม ไนเตรท สารหนูและของแข็งแขวนลอย
จากแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าน้ำหนักของดัชนีชี้วัดแต่ละตัวในครั้งที่ 2 จากดัชนีชี้วัด 14 ตัว ที่ได้จากแบบสอบถามครั้งที่ 1 พบว่า ดัชนีชี้วัดโครเมี่ยมและบีโอดี มีค่าน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับ 0.089 รองลงมาคือ ออกซิเจนละลายน้ำ (0.087) โคลิฟอร์มทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม มีค่าน้ำหนักเท่ากันคือ 0.080 ตะกั่ว (0.077) ปรอท (0.075) สารหนู (0.070) ความเป็นกรดเป็นด่าง (0.068) แคดเมี่ยม (0.066) ไนเตรท (0059) ของแข็งแขวนลอย (0.058) ความขุ่น (0.03) และอุณหภูมิ มีค่าน้ำหนักน้อยที่สุดเท่ากับ 0.050 นอกจากนี้ได้จัดทำแผนภูมิปรับปริมาณดัชนีแต่ละตัวให้อยู่ในหน่วยร้อยละระดับคุณภาพน้ำ (Rating curve) ทั้ง 14 ดัชนีชี้วัด