Abstract:
ศึกษาแก้วเติมสําหรับรอยแตกบนทับทิมจากโมแซมบิค โดยเผาผงแก้วร่วมกับทับทิมด้วยเตาไฟฟ้า ที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส ยืนอุณหภูมิเป็นเวลา 1, 3 และ 5 ชั่วโมง ตรวจสอบสมบัติกายภาพการหาค่าดัชนีหักเหและความถ่วงจําเพาะพลอยก่อนและหลังเผา ถ่ายภาพรอยแตกและมลทินพลอยก่อนและหลังเผาด้วยกล้องจุลทรรศน์แสง และหาการสะท้อนแสงด้วย ยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ผลการทดลองพบว่าดัชนีหักเหแสงและความถ่วงจําเพาะลดลงเนื่องจากดัชนีหักเหแสงและความถ่วงจําเพาะของแก้วต่ำกว่าทับทิม ตัวอย่างทับทิมที่มีรอยแตกถูกประสานให้มีความใสขึ้น มีความสวยงามเพิ่มขึ้น นอกจากน ี้ผลการวิเคราะห์การสะท้อนแสงในช่วง 350-750 nm พบว่าการสะท้อนแสงของพลอยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Cr3+ ซึ่งให้สีแดงกับพลอยทับทิม