Abstract:
การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การศึกษาของบิดามารดา และการสนับสนุนด้านข้อมูล ที่มีต่อความรู้สึกไม่แน่นอนของบอดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยวิกฤต
อายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 15 ปี เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพฯจำนวนทั้งหมด 76 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2554 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
แบบสอบถามความรู็สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาและแบบสอบถามการสนับสนุนด้านข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นของงอัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ.93 และ .79 ตามลำดับ และแบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของโรค มีค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบซ้ำเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย สถิติสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความรู้สึกแน่นอนของบิดามารดาโดยรวมอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (r=-.239,p<.05) แต่การศึกษาของบิดามารดาและการสนับสนุนด้านข้อมูล ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามรดาโดยรวม
(p>.05) การรับรู้ความรุนแรงของโรคเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดเพียงปัจจัยเดียว และสามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ ร้อยละ 4.5 (F1,74=4.497,p<.05)
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลที่ดูแลเด็กป่วยวิกฤตควรส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อการเจ็บป่วยของบุตรอย่างเหมาะสม ถูกต้องและเพียงพ เพื่อช่วยลดความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดา
This correlational predictive research aimed to examine predictors, including perception of illness severity, education of parent and
information support on parental uncertainty in critical illness of children in a Pediatric Intensive Care Unit (PICU). Sample included 76 parents of children with with 1 month to 15 years of age admitted in the PICU at Nopparat Rajathanee hospital in Bangkok.
Data were collected during March to August 2011. Research instruments consisted of the demographic questionnaire, the parent's perception of uncertainty in illness scale, the information support questionnaire, and the perception of child illness severity scale.
The first two scales had their Cronbach's alpha reliabilities of .93 and .79, respectively, and the last scale had its test-retest reliability of .78. Data were analyzed by using frequency, percent, mean, standard deviation, rang, Person's correlation and multiple regression analyses.
Results revealed that there was a significantly negative correlation between perception of illness severity and the parental uncertainty in the child critical illness (r=-.239,p<.05). However, parental education and information support were not significantly correlated with the parental uncertainty (p>.05).
Perception of illness severity was the one and the best significant predictor of the parental uncertainty. It accounted for 4.5% (F1,74=4.497,p<.05) in the prediction.
These findings suggest that nurses who give nursing care for critically ill children should promote appropriate, correct and adequate perception of illness severity of the children to help decrease parental uncertainty.