DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Show simple item record

dc.contributor.author เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.author ประชา อินัง
dc.contributor.author จันทร์สมร พรทวงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:07Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:07Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2604
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสร้างรูปแบบการสอน หาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยครูบ้านเกินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน ที่ลงทะเบียนเรียนสาขาภาษา ลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน และแบบ วัดทักษะการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เป็นขั้นเตรียมความพร้อมสร้างความสนใจและทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 2 ขั้นสอน เป็นการเสนอเนื้อหาใหม่ แยกกลุ่มย่อยปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 5-6 คน ให้อ่านเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง และเสนอประเด็นความคิดหลัก สัมมนาร่วมกับเพื่อน และปฏิบัติ การเขียนรายบุคคล ขั้นที่ 4 ขั้นประเมิน เป็นการทดสอบย่อยรายบุคคล ตรวจผลงาน ครูให้ข้อมูลย้อนกลับ และขั้นที่ 5 ขั้นถ่ายโอน ใบงานหรือแบบฝึกหัดการเขียน การบ้าน และการอ่านเพิ่มเติม และแผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการเขียน และประเมินตามสภาพจริง การนำรูปแบบไปใช้ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างกระบวนการเรียนรู้และหลังเรียน พบว่า ประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกิจกรรมตามแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ครบ 6 ครั้งได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.07 และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนทั้งหมดได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.72 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการสอนนี้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ จากการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า ทักษะการเขียนของผู้เรียนที่เรียนจากรูปแบบการสอนหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การสอน th_TH
dc.subject ทักษะการเขียน th_TH
dc.subject ภาษาลาว - - การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) th_TH
dc.subject ภาษาลาว - - การเขียน th_TH
dc.subject วิทยาลัยครูบ้านเกิน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว th_TH
dc.title.alternative A development of instructional model for writing skill of freshmen Bankeun Lao PDR Teacher College en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 3
dc.volume 23
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to develop an instructional model for writing skill development of the first - year students at Bankeun Teacher College, Lao P.D.R. and to find the efficiency of this instructional model. The sample, derived by means of simple random sampling, consisted of 41 first – year students enrolling in the course of Lao Language in the second semester of the academic year 2009 – 2010. The statistical devices used for data analysis were means, standard deviation, independent group t-test and the 80/ 80 efficiency standard criterion. The result were to obtain the instructional model for writing skill development comprising 5 steps as follows: Step 1: Introduction: readiness preparation to arouse the interest and review of prior knowledge; Step 2: Presentation: presenting new content and dividing learners into small groups for implementing; Step 3: Practice: dividing learners into a group of 5 – 6 people, reading the whole content, presenting main idea issue, peer seminar, and individual writing implementation; Step 4: evaluation: individual quiz, checking learners’work. and giving teacher’s feedback; and Step 5: Transferring: content sheets or writing worksheets, homework and supplementary reading assignments. The learning management plan comprised 6 lesson plans. Each lesson plan included writing skill practice and authentic assessment. For the implementation of the instruction model, on the comparison of the differences between the outcomes of while – learning process and of after learning, it was found out that the average score of 6 while – leaning activities was at 97.07 percent; while the average score of the academic achievement posttest after learning was at 97.72. This signified that the efficiency of the instructional model was higher than the 80/80 standard criterion. On the comparison of the average score between before learning and after leraning, it also revealed a significant increase of writing skill improvement after learning at the level of .05. It is thus indicated that the instructional model for writing skill development can be used effectively. en
dc.journal วารสารศึกษาศาสาตร์ = Journal of education
dc.page 274-284.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account