Abstract:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโณงงานผลิภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครืองสหพัฒน์พิบูล อำเภอศรีราชา จงหวัดชลบุรี มีวัติถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาการส่งผลระหว่างปัจจัยจูงใจ แบะปัจจัยธำรงรักษาขององค์การสถานประกอบการในการทำงานกับการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครืองสหพัฒน์พิบูล อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 314 ตัวอย่างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉ,ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบเพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉ,ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และ Binary logistics regression
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยย่อยๆเรียงตาลำดับความสำคะญคือ ด้านความสำเร็จ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความยอมรับนับถือ และด้านลักษณะงานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐานสรุปว่าปัจจัยจูงใจที่ส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความสำเร็จและด้านความรับผิดชอบมีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ อันเนื่องมากจากพนักงานระดับปฏฺบัติการให้ความสำคัญในปัจจัยดังกว่าวนี้และต้องการแสดงความสามารถของตนในการทำงานจนงานที่ปฏิบัติสำเร็จลุล่วงและได้รับการทอบหมายความรับผิดชอบในงานเป็นแรงจูงใจมีผลทำให้การลาออกลดลง ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความพอใจในงานซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการปฏิบัติงานและทำให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน
2. ปัจจัยธำรงรักษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้สยปัจจัยย่อยๆ เรียงตามลำดับความสำคัญคือ ด้านรายได้ในการทำงานมีอิทธิพลต่อการลาออกจากงานเป็นอันดับแรก ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในงาน ด้านบริษัทและนโยบายการบริหาร และด้านบรรยากาศในการทำงานเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่าทุกปัจจัยธำรงรักษาส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ใกล้ชิดกับพนักงานและมีผลต่อความเป็นอยู่มากที่สุด ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความไม่พอใจในงานปัจจัยธำรงรักษาจะส่งผลกับสิ่งแวดล้อมของงานและเป็นตัวป้องกันความไม่พอใจในงาน ทั้งนี้เมื่อพนักงานได้รับการตอบสนองปัจจัยนี้อย่างเพียงพอแล้วจะมีการลาออกลดลง