Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวค่านิยมในการดำเนินชีวิต การรับรู้ข่าวสาร และการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมคุณภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการจัดสินจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สามารถอ่าน เขียน และสนทนาภาษาอังกฤษได้ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 ของแบบสอบถามทั้งหมด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS for Window โดยมีสถิติที่เลือกใช้ดังนี้ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ , ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent Sample t-test, One-way Analysis of Variance และ Multiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านประเภทของการบริการสุขภาพและสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสัญชาติ เพศ อายุ การศึกษาสูงสุด รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวด้านปัจจัยผลักดันมีผลทางบวกต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารมีผลทางบวกต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The research was to study the relationship among personal factors, travel motivation, list of value, knowledge perception, and travel decision of international
tourists in health promotion tourism in Pattaya, Chonburi. The sample group consisted of 400 international tourists who could speak, read, and write, and converse in English.
90.91% was the percentage of tourists who returned the questionnaires distributed. Questionnaires were used for data collection and the data analysis was done through Statistic Package of Social Sciences for Window. The statistics used included frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One-way Analysis of Variance, and Multiple Regression Analysis.
The findings revealed that tourists with different personal factors, type of health service, and marital status had no difference in travel decision in health promotion
tourism in Pattaya, Conburi. However, international tourists whose personal factors concerning nationality, gender, age, occupation, educational background, monthly income, and duration of travel were different had difference in travel decision in healt promotion tourism at the level of significance of 95%. The motivation relating to impulsion had positive effect on travel decision in health promotion tourism at the significance level of 95%. List of value had a positive effect on travel decision in health promotion tourism at the significance level of 95%. Knowledge perception also has positive effect on travel decision in health promotion tourism at the significance level of 95%.