DSpace Repository

กระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู : การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2512
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปรากฏการณ ์ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลัก วิชาชีพครู ศึกษากระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู และกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 2 เอกการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย บูรพา ที่ลงทะเบียนรายวิชา 400102 หลักวิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 37 คน เมื่อจบ การเรียนการสอนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ตลอดภาคเรียนแล้ว นิสิตถูกเชิญเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งมีนิสิตจำนวน 37 คน อาสาสมัครยินดีเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 12 คน โดยแต่ละคนเป็นผู้ แทนของสมาชิกในแต่ละกลุ่มของการทำงานในการเรียนการสอน ดำเนินการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน และรวบรวมข้อมูลและผลงานต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยสมุดบันทึกการเรียนรู้ แบบประเมินตนเอง เอกสาร และผลงานของนิสิตจากกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน ภาพถ่าย และสมุดบันทึกอนุทินของผู้วิจัย การศึกษาครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ทำดรรชนีและเข้ารหัสข้อมูล ลดทอนข้อมูล และใช้การบรรยายและ ตีความจากข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์คำพูด ผลการวิจัยพบว่า 1. ปรากฏการณที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนรายวิชาหลักวิชาชีพครู มีบรรยากาศการเรียนการสอนและพฤติกรรม เชิงบวก นิสิตประทับใจในกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมมีความเหมาะสมและสามารถเสริมสร้างความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพครู เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมอย่างมีความหมาย ท้าทายความสามารถ นิสิตมีความสุข และสนุกกับบทเรียนและได้รับประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่านิสิตได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการคิด และวางแผนใน การเรียน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยเหลือสังคม 2. นิสิตมีการพัฒนากระบวนการคิดอย่างไตร่ตรอง คิดทบทวนและพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีมุมมองที่ดีต่อตนเอง ต่อวิชาชีพครู และต่อสังคม มีการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนอยู่ในระดับดีมาก มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าในตนเองและการทำงาน 3. นิสิตมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่อวิชาชีพครูในด้านบวกมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ครูที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการมองสังคม และ มีแนวคิดที่จะเป็นครูที่เสียสละ ทำหน้าที่ของตนเองเพื่อประเทศชาติ กล่าวคือเป็นการเปลี่ยนจิตสำนึกใหม่ของการเรียนรู้อย่างแท้จริง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การเรียนรู้ th_TH
dc.subject ครู th_TH
dc.subject ความคิดและการคิด th_TH
dc.subject ความรู้สึก th_TH
dc.subject จิตตปัญญาศึกษา th_TH
dc.title กระบวนการคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของนิสิตต่อวิชาชีพครู : การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตน th_TH
dc.title.alternative Thinking process, feeling and behavior of student teachers on teaching profession: Transformative learning en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 23
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative This qualitative research aimed to investigate the phenomena in the Principles of Teaching Profession course with respect to learning process, thinking process, feelings and behavior of student teachers. Taught by the researcher, the course was mainly based on Contemplative Education Theory. The participants were 12 second-year students purposely selected from 37 volunteer students who enrolled in the Principles of Teaching Profession course in the second semester of the Academic Year 2009. Each participant was a representative of each work group. After all assessments were completed and grades assigned, data were collected through learning log, self-evaluation, documents from learning activities, pictures, researcher journal, and focus group interview. The data were analyzed using content analysis. The findings of the research were as follows: 1. The classroom atmosphere and student teachers’ behavior were positive and supportive. The student teachers were happy and impressed with learning activities. The learning activities were appropriate and helped enhance student teachers’ positive attitudes toward the teaching profession. The activities were challenging for student teachers and meaningful to them. The student teachers were happy with the lessons and gained benefits from them. They actively participated in the thinking activities. They made plans for their learning and were more responsible for their work. They were inspired to contribute more to the society. 2. The student teachers developed their reflective thinking skills. They considered things more carefully. They had self-esteem and positive attitudes toward the teaching profession and society. Their work performance was high. They valued themselves and their work. 3. The student teachers positively changed their feelings, behavior and attitudes toward the teaching profession. They also changed their thinking process. They were inspired to be good teachers. They changed the way they looked at society. They had the ideas of becoming self-sacrificing teachers who would dedicated their lives to society. In conclusion, this course helped develop new consciousness of learning in student teachers en
dc.journal วารสารศึกษาศาสาตร์ = Journal of education
dc.page 96-109.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account