Abstract:
บทความนี้นำเสนอข้อจำกัดหนึ่งของขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมวัตถุประสงค์หลายอย่าง (MOGA) ในการแก้ปัญหาการหาค่า
เหมาะที่สุดวัตถุประสงค์หลายอย่างโดยได้นำ MOGA 3 ชนิดคือ NSGA-II, SPEA-II และ COGA-II มาทดลองกับปัญหาวัตถุประสงค์
หลายอย่างมาตรฐาน DTLZ2 และ DTLZ6 ที่มีวัตถุประสงค์ 3-6 อย่าง ซึ่งจากผลการทดลองจะพบว่า MOGA ทั้งสามสามารถแก้ปัญหา
ที่มีวัตถุประสงค์ 3 อย่างได้เป็นอย่างดี COGA-II ดีกว่า NSGA-II และ SPEA2 อย่างชัดเจนสำหรับปัญหาที่มีวัตถุประสงค์ 4 อย่างขึ้นไป
นอกจากนี้ NSGA-II และ SPEA2 แก้ปัญหาที่มี 5 วัตถุประสงค์ขึ้นไปได้ไม่ดี ส่วน COGA-II ซึ่งเป็น MOGA ซึ่งพัฒนามาเพื่อแก้ปัญหา
ดังกล่าวได้แม้ไม่ดีมากดังเช่นปัญหาที่มี 3 วัตถุประสงค์ ซึ่งแสดงถึงข้อจำกัดสำหรับ MOGA ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากผลการทดลองแสดงว่า
จำเป็นต้องมีการพัฒนา MOGA เพื่อปัญหาที่มีวัตถุประสงค์จำนวนมากต่อไป