dc.contributor.author |
วันเช็ง สิทธิกิจโยธิน |
|
dc.contributor.author |
ดวงฤดี เชิดวงศ์เจริญสุข |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:14:52Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:14:52Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2430 |
|
dc.description.abstract |
มะขามจัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาสมุนไพร โดยน้ำต้มจากใบและดอกมะขามสามารถช่วยลดความดันโลหิต มะขามเปียก
สามารถเป็นยาระบาย ขับเสมหะ ในขณะที่เมล็ดนำมาใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ยาขับพยาธิ เป็นต้น จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า สารสกัด
จากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุชนิดของมะขามและแหล่งที่มาที่แน่นอนของเมล็ด
มะขามที่นำมาศึกษา และเนื่องจากมะขามต่างชนิดกันจะมีองค์ประกอบภายในเมล็ดแตกต่างกันออกไป เป็นผลให้ฤทธิ์ของการต้าน
อนุมูลอิสระที่ได้แตกต่างเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการเปรียบเทียบฤทธิ์ของการต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดเปลือกหุ้ม
เมล็ดมะขามหวานและมะขามเปรี้ยว จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามเปรี้ยวความเข้มข้น 1 ถึง 100 ไมโคร
กรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณฟีนอลอยู่ในช่วง 0.233 ± 0.001 ถึง 1.09 ± 0.04 ไมโครกรัม เมื่อคำนวณเป็น gallic acid และมี ร้อยละ
การยับยั้งสาร Diphenyl ถึง 2-picrylhydrazyl (DPPH) อยู่ในช่วง 41.01 ± 4.92 ถึง 91.64 ± 1.38 โดยความเข้มข้นของสารสกัดจาก
เปลือกหุ้มเมล็ดมะขามหวาน 1 ถึง 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีปริมาณฟีนอล อยู่ในช่วง -0.04 ± 0.006 ถึง 1.06 ± 0.009 ไมโครกรัม
เมื่อคำนวณเป็น gallic acid และมี ร้อยละการยับยั้งสาร DPPH อยู่ในช่วง 3.2 ± 3.3 ถึง 90.49 ± 0.27 จากการเปรียบเทียบสรุปได้ว่า
(1) สารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามเปรี้ยวมีปริมาณฟีนอลและ ร้อยละการยับยั้งสาร DPPH มากกว่าสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ด
มะขามหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ปริมาณสารประกอบฟีนอลสัมพันธ์กับ ร้อยละการยับยั้งสาร DPPH และ (3) สารฟีนอลและ
ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มข้นของสารสกัด |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
ฟีนอลส์ |
th_TH |
dc.subject |
มะขาม |
th_TH |
dc.subject |
มะขามหวาน |
th_TH |
dc.subject |
สารสกัดจากพืช |
th_TH |
dc.subject |
อนุมูลอิสระ |
th_TH |
dc.title |
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามหวานและมะขามเปรี้ยว |
th_TH |
dc.title.alternative |
Free redical scavenging activity of seed coat extracts of sweet and sour tamarinds |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
1 |
|
dc.volume |
16 |
|
dc.year |
2554 |
|
dc.description.abstractalternative |
Tamarind is a traditional herb having medical therapeutic effects. The antioxidant activity of tamarind seed
coat extract has been reported however the types of tamarind have not been specified. Difference types of
tamarinds may have a difference seed contents and antioxidant characters. Hence, the main aim of this study is to
compare the antioxidant property of seed coat extracts between sweet (from Petchaboon province) and sour
tamarinds (from Angthong province). It was found that sour tamarind seed coat extracts (1-100 μg/ml) contained
total phenolic compounds between 0.233 ± 0.001 to 1.09 ± 0.04 μg calculated as gallic acid and the percent
DPPH inhibition between 41.01 ± 4.92 to 91.64 ± 1.38. In addition, the sweet tamarind seed coat extracts
contained phenolic compounds between -0.04 ± 0.006 to 1.06 ± 0.009 μg calculated as gallic acid and the
percent DPPH inhibition between 3.2 ± 3.3 to 90.49 ± 0.27. In summary, we can conclude that (1) the total
phenolic compunds and the percent DPPH inhibition of sweat tamarind seed coat extracts were significant higher
than sour tamarind seed coat extracts (2) the quantity of phenolic compounds corresponded to the percent DPPH
inhibition and (3) the amount of phenolic compounds and the percent DPPH inhibition were dose dependent. |
en |
dc.journal |
วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha science journal. |
|
dc.page |
47-55. |
|