dc.contributor.author | ปิยะวรรณ ศรีวิลาศ | |
dc.contributor.author | กานดา ใจดี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:14:48Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:14:48Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2379 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาชนิดและปริมาณสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนที่ตกค้างในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเก็บตัวอย่างบริเวณแม่น้ำบางปะกง-ศรีราชา รวม 2 ครั้ง คือ ฤดูแล้ง (มีนาคม 2546) และฤดูฝน (สิงหาคม 2546) จากนั้นวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีน 17 ชนิด โดยเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟ ตัวตรวจวัดชนิดอีซีดี ชนิดสารที่ตรวจพบได้แก่ สารกลุ่มบีเอชซี เฮปตาคลอร์ เฮตาคลอร์-อีพอกไซด์ ดิลดริล เอนโดนซัลแฟน-1 เอนโดซัลแฟน-2 และพารา-พารา-ดีดีอี พารา-พารา-ดีดีดี พบว่าสารกลุ่มบีเอชซี เป็นชนิดสารที่ตรวจพบบ่อยที่สุดและมีปริมาณสูงสุด โดยเฉพาะเดลต้า-บีเอชซี และแกมมา-บีเอชซี ถูกตรวจพบคิดเป็นร้อยละ 87.50 และ 81.25 ตามลำดับ และเบต้า-บีเอชซีตรวจพบปริมาณสูงสุด 74.06+-21.06 นาโนกรัม/กรัม น้ำหนักแห้ง โดยปริมาณรวมสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนตรวจพบในฤดูฝนสูงกว่าฤดูแล้งในปริมาณ 129.27+-35.93 และ 103.70+-23.32 นาโนกรัม/กรัม น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการสะสมของสารในดินตะกอนขึ้นอยู่กับฤดูกาล สถานี และระยะใกล้ฝั่ง-ไกลฝั่ง โดยสถานีที่ตรวจพบว่ามีการสะสมของสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนสูงสุดคือ ศรีราชา รองลงมาคืออ่างศิลา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ปริมาณ | th_TH |
dc.subject | ตะกอน | th_TH |
dc.subject | ประเทศไทย | th_TH |
dc.subject | พิษตกค้าง | th_TH |
dc.subject | สารประกอบออร์กาโนคลอรีน | th_TH |
dc.subject | สารป้องกันกำจัดแมลง | th_TH |
dc.subject | แม่น้ำ | th_TH |
dc.title | สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนดินตะกอนบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงถึงศรีราชา | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 58 | |
dc.year | 2548 | |
dc.journal | วารสารการประมง | |
dc.page | 66-70. |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |