Abstract:
การศึกษาหาชนิดและปริมาณสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก ทำการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม 2547 (ฤดูแล้ง) และเดือนสิงหาคม 2547 (ฤดูฝน) โดยเก็บตัวอย่างบริเวณปากแม่น้ำบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงปากแม่น้ำตราด จังหวัดตราด พบว่าการสะสมของสารฆ่าแมลงในดินตะกอนขึ้นอยู่กับพื้นที่ศึกษา โดยการสะสมของสารฆ่าแมลงในเดือนสิงหาคม (ฤดูฝน) มีค่าสุงกว่าเดือนมีนาคม (ฤดูแล้ง) ในปริมาณ 205 ± 23 และ 153 ± 10 นาโนกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ โดยพื้นที่อุตสาหกรรมมีแนวโน้มการสะสมของสารฆ่าแมลงสูงกว่าพื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปริมาณ 224 ± 32 และ 188 ± 33 นาโนกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ และบริเวณตลาดนาเกลือพบการสะสมของสารฆ่าแมลงสูงสุด 510 ± 187 นาโนกรัม/กรัม รองลงมาคือปากแม่น้ำกระแสร์ 499 ± 67 นาโนกรัม/กรัม ชนิดสารที่ตรวจพบความถี่สูงสุดในเดือนมีนาคม (ฤดูแล้ง) คือเอนโดซัลแฟน-2 และเอนโดซัลแฟน- 1 ในปริมาณ 96% และ 94% ตามลำดับ ส่วนในเดือนสิงหาคม (ฤดูฝน) คือแกมม่า-บีเอชชี และเบต้า-บีเอชซี ในบริมาณ 88% และ 72% ตามลำดับ และพบว่าสารกลุ่ม บีเอชชีมีค่าสูงในทุกเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ โดยแกมม่า-บีเอชซีตรวจพบปริมาณสูงสุด 88 ± 12 นาโนกรัม/กรัม (น้ำหนักแห้ง)