DSpace Repository

การศึกษาปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันด้วยสารตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งเพื่อผลิตไบโอดีเซล

Show simple item record

dc.contributor.author สร้อยพัทธา สร้อยสุวรรณ
dc.contributor.author สรเพชร ภิญโญ
dc.contributor.author ณัฐรินทร์ ศรีเอกกวีรัตน์
dc.contributor.author กมชนก ปานสง่า
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.available 2019-03-25T09:14:44Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2335
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งชนิดต่างๆ เพื่อใช้กับปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน ได้แก่ แคลเซียมออกไซด์(CaO) แคลเซียมออกไซด์เผาที่อุณหภูมิ 800°ซ (CaO(800) สตรอนเซียมออกไซด์ (SrO) สตรอนเซียมออกไซด์ร้อยละ 5 ที่เคลือบฝังบนแคลเซียมออกไซด์ (5%SrO/CaO) โพแทสเซียมออกไซด์ร้อยละ 5 ที่เคลือบฝังบนแคลเซียมออกไซด์ (5%K2O/CaO) และโดยร้อยละ 50 ของทั้งสตรอนเซียมออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์ (50SrO/50CaO) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกริยาร้อยละ 10 โดยน้ำหนักคิดเทียบกับน้ำมันปาล์ม และส่วนผสมของน้ำมันปาล์มกับเมทานอลที่อัตราส่วนโดยโมล 1:6 อุ่นที่อุณหภูมิ 65°ซ เป็นเวลา 3 ชม. จากการทดลองพบว่าจากปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันบนตัวเร่งปฏิกิริยา 50SrO/50CaO, SrO, CaO และ CaO(800) เอสเทอร์ของกรดไขมันร้อยละ 92, 91, 89 และ 83 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณความแรงของบสบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา และพื้นที่ผิวขิงตัวเร่งปฏิกิริยา รานเอสเทอริฟิเคชันบนตัวเร่งปฏิกิริยา 5%K2O/CaO และ 5%SrO/CaO ไม่พบกลีเซอรอล ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปริมาณด่างที่มีความแรงสูงและมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ความแรงของด่างบนพื้นผิวไม่เพียงพอต่อการเร่งปฎิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันในขั้นตอนเริ่มต้น The present research aims to study and develop the catalysts for transesterification such as, calcium oxide (CaO) , fired calcium oxide at 800°C (CaO(800), strontium oxide (SrO), 5% strontium oxide loaded on calcium oxide (5%SrO/CaO) , 5% potassium oxide loaded on calcium oxide (5%K2O/CaO) and mixed 50% strontium oxide and 50% calcium oxide (50SrO/50CaO). The transesterification was carried out by molar ratio of palm oil and methanol 1:6 at 65°C for 3h with 10% by weight of soild catalyst based on palm oil. Fatty acid methyl ester (FAME) was achieved from transesterification catalyzed by 50SrO/50CaO, SrO, Cao, and CaO(800) at 92%, 91%, 89%, and 83%, respectively. These percentages of FAME are in accordance with the number of base sites, basic strengths and BET surface areas. No trace of glycerol was found from the transesterification on 5%K2O/CaO and 5%SrO/CaO catalysts since the number of strong basic sites on both catalysts, 5%K2O/CaO and 5%SrO/CaO, was fairly low and possibly inadequate to catalyze the starting step of transesterification. th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ของแข็ง th_TH
dc.subject ตัวเร่งปฏิกิริยา th_TH
dc.subject ทรานเอสเทอริฟิเคชัน th_TH
dc.subject เชื้อเพลิงไบโอดีเซล th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การศึกษาปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันด้วยสารตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งเพื่อผลิตไบโอดีเซล th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 29
dc.year 2553
dc.journal วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม = Journal of science and technology Mahasarakham University.
dc.page 139-148.


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account