Abstract:
งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้เครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศในระดับของอุณหภูมิที่แตกต่างกันในที่พักอาศัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการใช้เครื่องปรับอากาศได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพาที่พักอยู่ในบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยรัศมีไม่เกิน 3 กิโลเมตร จำนวน 100 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ ได้มาจากการเลือกกลุ่มบุคลากรจากกลุ่มตัวอย่างที่อนุญาตให้ผู้วิจัยเข้าไปดำเนินการติดตั้งมาตรวัดไฟฟ้าให้กับเครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยได้ จำนวน 15 คน (15บ้าน) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย จากการศึกษาและทดลองได้สรุปผลดังนี้ พฤติกรรมการใช้เครื่องปรับอากาศฉ 1. การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเวลานอน ร้อยละ 76 ปรับอุณหภูมิที่ระดั 25C ร้อยละ14 ปรับอุณหภูมิที่ระดับ 26C และ ร้อยละ 10 ปรับอุณหภูมิที่ระดับ 27C ซึ่งแต่ละคนให้ความเห็นว่าการที่เขาตั้งอุณหภูมิในระดับนั้นๆ เป็นอุณหภูมิที่เขารู้สึกว่าสบายดีและพอใจ 2. พบว่า ร้อยละ 65 ของผู้ใช้เครื่องปรับอากาศเข้าใจว่าการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ระดับ 25C จะประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด และร้อยละ 35 เข้าใจว่าการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ระดับสูงกว่า 25 C ประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด ด้านพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปกับเครื่องปรับอากาศทั้งสามขนาด คือขนาด 9,000 Btu/h (0.75ตัน) 12,000 Btu/h (1 ตัน) และขนาด 18,000 Btu/h (1.5 ตัน) เครื่องปรับอากาศทุกขนาดที่ตั้งอุณหภูมิใช้งานที่ 25C จะเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าตั้งอุณหภูมิใช้งานที่ 26C และการตั้งอุณหภูมิใช้งานที่ 26C จะเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากกว่าตั้งอุณหภูมิใช้งานที่ 27C