Abstract:
ปัจจุบันการศึกษากลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ประการหนึ่งในการสร้างความสำพันธ์ระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายละดับชาติและระดับนานาชาติมักมีข้อกำหนดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือด้านการวิจัย การประชุมสัมมนา ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนบุคลากร นิสิต นักศึกษาและคณาจารย์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและใช้ทรัพยากรมนุษย์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันเป็นข้อกำหนดใน หลัการประการหนึ่งสำหรับการดำเนินการของโครงการความร่วมมือในแต่ละภูมิภาค ดังเช่น อาเซียน (ASEAN) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันของประเภทในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือเอเชียอาคเนย์ หรืออุษาคเนย์ที่เรียกกันในปัจจุบัน ประกอบด้วย 10 ประเทศคือ ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ ได้มีการลงนาม ในความร่วมมือกันทางวิชาการด้วยการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network-AUN) และได้คัดเลือกมหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศ จำนวน 1-2 แห่ง เข้าร่วมโครงการเป็นสมาชิก รวม 17 แห่ง เพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันพัฒนาอาเซียนภายใต้ กรอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาภูมิภาคร่วมกันต่อไปในอนาคต โครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเปิดประเทศเข้าหากันมากขึ้น เพื่อความร่วมมือกันทางวิชาการอย่างจริงจัง