dc.contributor.author |
นิสากร กรุงไกรเพชร |
th |
dc.contributor.author |
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ |
th |
dc.contributor.author |
พัชรินทร์ พูลทวี |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:47:20Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:47:20Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/220 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียน บนแนวคิด นโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาในหมู่บ้านของจังหวัดภาคตะวันออก 2 หมู่บ้าน การเก็บข้อมูลประกอบด้วย (1) ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การประชุม ซึ่งถูกนำมาตรวจสอบความถูกต้องความหลากหลายของข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของโคไลซี่ (Colaizzi, 1978) (2) ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และการประเมิณสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์หาความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาดังนี้
1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่องค์กรชุมชนดำเนินการอยู่นั้น มุ่งเน้น 3 ประเด็น คือ (1) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอิ้อต่อสุขภาพ (2) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถควบคุมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเองได้ มีทางเลือกต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง และ
(3) การเสริมสร้างกิจกรรมให้เข้มแข็ง โดยมีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ภารกิจหลักของแต่ละชุมชน
2. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย ประกอบด้วย
(1) สวงหาภาคีความร่วมมือและศึกษาภูมิหลัง (2) ออกแบบและวางแผนการดำเนินงาน (3) ดำเนินงาน ปรับปรุงแผน และประเมินผลการดำเนินงาน (4) สะท้อนข้อมูลย้อนกลับ ส่งต่อเพื่อขยายผลต่อชุมชน
3. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายจะสำเร็จลงได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ การวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีอยู่ในชุมชน การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายเพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียนทุกภาคส่วน การเปิดกาสให้เด็กวัยเรียนมีโอกาสจัดการสุขภาวะของตนเอง และการสะท้อนกลับข้อมูลการดำเนินงาน อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินต่อไปได้ไม่สิ้นสุดนั้น จำเป็นต้องมีแรงขับเคลื่อนจากหลายทิศทางทั้งในและนอกชุมชนเข้ามาร่วมผลักดัน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนงบประมาณแผ่น มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2552 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การส่งเสริมสุขภาพ |
th_TH |
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
th_TH |
dc.subject |
โภชนาการ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนในชุมชน |
th_TH |
dc.title.alternative |
The Health Promotion Process of Nutrition and Exercise of School-Age Children in Community |
|
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2554 |
|
dc.description.abstractalternative |
The aim of the action research was to develop health promotion pattern and process of nutrition and exercise for school-age children based on concept and policy of community’s organizations. The research was conducted in 2 villages of eastern part of Thailand. The quantitative data were gathered by questionnaire and health-related physical fitness assessment then described in terms of frequency and percentage. In depth interview, focus groups, and conferences were conducted for collecting qualitative data. Triangulation and data reflections were used to validate the data. The collected qualitative data was analyzed by Colaizzi’s content analysis method. The results were as follows:
1. The existing of health promotion pattern on nutrition and exercise for school-age children focuses on 3 actions; (1) create supportive environment for health, (2) develop personal skill in order to control over their own health and over their environment, and to make choices conducive to health, and (3) strengthen community action. The community organizations play their role health promotion program depend on their responsibility.
2. The process of health promotion and exercise for school-age children started with (1) seeking support from stakeholders and look through background on health promotion for school-age children. (2) planning(3) implementation and evaluation and (4) reflect and feed back the information to extend to community.
3. The core component of the process of health promotion on nutrition and exercise for school-age children included situation analysis of health promotion pattern on nutrition and exercise for school-age children, key stakeholders participation, giving chance to school-age children to manage his/her health, and reflecting health information to community. Nevertheless, the most important component which move the process continuously was the influence both inside and outside community. |
|