Abstract:
การวิจัยเรื่อง “การรับรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จำหวัดระยอง” มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อศึกษาการรับรู้การมีส่วนร่วม และแนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะของประชาชนตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่มีต่อการสร้างโรงงานหลอมถลุงเหล็ก ในเขตตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน ๓๘๐ ราย ผลการศึกษาการรับรู้พบว่าประชาชนรับทราบบ้างในการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กมีความรู้บ้างในเรื่องการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก บริษัทผู้ประกอบการไม่เคยเข้ามาประชาสัมพันธ์ เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตหลอมถลุงเหล็ก ทราบว่ากรณีที่เกิดผลกระทบ ประชาชนจะได้รับผลกระทบโดยตรง บริษัทไม่เคยพาคนในชุมชนไปศึกษาดูงานโรงหลอมถลุงเหล็กที่อื่นนอกจากนี้ ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง มีความเห็นว่า (๑) ไม่ควรสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก (๒) ประชาชนทั่วไปจะได้รับผลกระทบก่อน (๓) ถ้าโรงงานหลอมถลุงเหล็กเกิดขึ้น บริษัทเป็นผู้ได้รับประโยชน์ (๔) ถ้ามีความจำเป็นจะต้องสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่คนในชุมชน (๕) บริษัทไม่เคยส่งพนักงานมาพบเลย รับทราบข่าวสารในการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กจากเสียงตามสาย/ วิทยุชุมชน นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยที่ว่า (๑) โรงหลอมถลุงเหล็กจะนำความเจริญมาให้ชุมชน และ (๒) โรงหลอมถลุงเหล็กจะช่วยลดปัญหาการว่างงานของชุมชน เห็นด้วยว่าสุขภาพจิตของคนในครอบครัวแย่ลงเมื่อจะมีโรงหลอมถลุงเหล็กได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงงานให้คนในชุมชนทราบ (๔) โรงหลอมถลุงเหล็กให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และ (๕) กรรมการขุมขนได้ทราบเรื่องการจะก่อสร้างโรงหลอมถลุงเหล็กในชุมชนมาก่อน
การมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ประชาชนไม่เคยร่วมทำประขาพิจารณ์ ร้อยละ 67.4 ไม่เคยมีส่วนร่วมในโครงการสร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก ร้อยละ 72.1 เคยเป็นกรรมการประชาพิจารณ์ ร้อยละ 89.7 ไม่เคยไปฟังการจัดประชาพิจารณ์ ร้อยละ 71.8 ไม่เคยไปแสดงความคิดเห็นในการทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ 70.3 ประชาชนคิดว่าการประชาพิจารณ์ไม่เพียงพอ และไม่ชัดเจน ร้อยละ 89.5 ด้านความต้องการในการดำเนินการแก้ปัญญาของหน่วยงานภาครัฐ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความต้องการอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับตามความต้องการจากมากไปหาน้อย ๓ ลำดับแรก ได้แก่ การจัดกิจกรรมชดเชยความเสียหายแก่ชุมชน การให้ชาวบ้านร่วมตรวจสอบมลพิษ และการช่วยเหลือประชาชนฟ้องร้องทางกฎหมาย ส่วนความต้องการของประชาชนในการดำเนินการแก้ปัญหา ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนต้องการอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ๓ ลำดับแรก ได้แก่ การให้ความรู้แก่คนในชุมชนการควบคุมโรงงาน และการตั้งกรรมการจากหลายฝ่ายเพื่อแก้ปัญหา ด้านข้อเสนอแนะอื่นๆ เห็นสมควรไม่ให้สร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก มาจากสาเหตุโรงงานหลอมถลุงเหล็ก ทำให้มีปัญหามลพิษทางอากาศ และการเกษตรจะถูกทำลายมากที่สุด ส่วนหากประชาชนไม่ให้สร้างโรงหลอมถลุงเหล็ก ประชาชนจะดำเนินการด้วยวิธีการประท้วงให้ถึงที่สุด