Abstract:
ที่มาของปัญหา ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการจมน้ำมักมีความผิดปกติของดุลเกลือแร่ในร่างกาย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความผิดปกติของดุลเกลือแร่ในผู้ป่วยจมน้ำทะเลในประเทศไทย
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะความผิดปกติของดุลเกลือแร่ในผู้ป่วยจมน้ำทะเลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
วิธีวิจัย ศึกษาเวชระเบียนย้อนหลังเป็นเวลา 10 ปี นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม SPSS version 19
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเพศชาย 23 ราย เพศหญิง 16 ราย อายุเฉลี่ย 14.46+11.15 ปี มีผู้ป่วยอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ปี 19/39 ราย (48.72%) ความผิดปกติของดุลเกลือแร่ที่พบบ่อยตามลำดับคือ hyponatremia 2/39 (5.1%) hypernatremia 12/39 (30.8%) hypokalemia 8/39 (20.5%) hyperchloremia 16/39 (41.1%) high anion gap 23/39 (59%) hypobicarbonatemia (61%) ผู้ป่วย hypokalemia จำนวน 7 รายจาก 8 รายมีภาวะ high anion gap ร่วมด้วย ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยที่มี hifh anion gap ต่ำกว่าผู้ป่วยที่มี normal anion gap อย่างมีนัยสำคัญ (87.06+17.68% vs. 95.8+5.94% p=0.031) โดยที่มีระดับ systolic blood pressure ไม่แตกต่างกัน สรุปคือ ความผิดปกติของดุลเหลือแร่ในผู้ป่วยจมน้ำทะเลที่พบบ่อยคือ Hypernatremia, hypokalemia, hyperchloremia และ high anion gap สาเหตุของ high anion gap น่าจะมาจากภาวะพร่องออกซิเจน