Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่อง ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 2. เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษา 3. เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 4. เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกต่อไป การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ จำแนกตาม เพศ อายุ สายวิชาที่ศึกษา ชั้นปี รายได้/เดือน อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา รายได้ของครอบครัว/เดือน ภูมิลำเนาเดิม และการทำกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา โดยประชากรของการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จำนวน 55,670 คน จาก 7 สถาบัน อันได้แก่ มหวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน มหาวิทยาลัยเทคโลโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตบางพระ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยสามารถกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 397 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการศึกษาพบว่า นิสิตนักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 17.82) สำหรับในประเด็นของการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น จากการศึกษาพบว่า นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับน้อย (x̄ = 1.66) ผลการทดสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองพบว่า เพศ ภูมิลำเนาเดิม และการทำกิจกรรมนิสิต นักศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลทำให้การมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศชายมีความรู้ความเข้าใจทางทางการเมืองมากกว่าเพศหญิง ผู้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกภาคตะวันออกมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากกว่าผู้มีลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกมีความรู้ความสนใจทางการเมืองมากกว่าผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก และนิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้ทำกิจกรรมในหน่วยกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากกว่านิสิตนักศึกษาที่ไม่ได้เป็นผู้ทำกิจกรรมสำหรับในส่วนของผลการทดสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น พบว่า เพศ ภูมิลำเนาเดิม และการทำกิจกรรมนิสิต นักศึกษา ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเพศชายมีการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าเพศหญิง ผู้มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกภาคตะวันออก และนิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้ทำกิจกรรมในหน่วยกิจกรรมของมหาวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองมากกว่านิสิต นักศึกษาที่ไม่ได้เป็นผู้ทำกิจกรรม ผ
อนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางการเมือง กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองพบว่า นิสิตนักศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองแตกต่างกัน มีการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ต่างกัน นั่นหมายความว่า ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05