dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง สถานภาพศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาและดำเนินการสหกิจของเครือข่ายการพัฒนาอุดมศึกษาภาคตะวันออกและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณของสถาบันสมาชิกของเครือข่าย 6 สถาบัน (Supply) และองค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Demand) ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 และเพื่อวิเคราะห์การประเมินศักยภาพและความพร้อมในการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันการศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ผลการศึกษาพบข้อมูลดังนี้
ในปี พ.ศ.2551-2552 มี 2 สถาบันการศึกษาที่จัดสหกิจศึกษา โดยพ.ศ.2551 มีคณะทั้งสิ้น 6 คณะ 14 สาขาวิชาและนักศึกษา 422 คน ในปี พ.ศ. 2552 มี 5 คณะ 14 สาขาวิชาและนักศึกษา 558 คน จากการศึกษาคาดว่าใน พ.ศ. 2553-2555 จะมีคณะเข้าร่วมการดำเนินสหกิจศึกษา คือ 5,7 และ 8 คณะ ตามลำดับ ส่วนจำนวนสาขาวิชา 18,21 และ 22 สาขาและจำนวนนักศึกษา 693,893 และ 905 คน ตามลำดับ
ในส่วนขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่ภาคตะวันออกมีจำนวน 135 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 58.7 ส่วนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตนอกพื้นที่ มีจำนวน 95 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 41.3 ในจำนวนนี้ 74 แห่ง หรือร้อยละ 77.89 เป็นองค์กรผู้ใช้บัณฑิตที่อยู่ในกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2552 จำนวนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่มี 207 แห่งโดยเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2551 ร้อยละ 41.69 เมื่อพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตจากปีที่ผ่านมาคาดว่าใน พ.ศ. 2553-2555 คาดว่าจะมีจำนวนองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในพื้นที่ จำนวน 293,416 และ 589 แห่ง ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาความสมดุลระหว่างจำนวนนักศึกษา (Supply) กับตำแหน่งงานขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต (Demand) จากการคำนวณค่าเฉลี่ยการรับนักศึกษา พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 เป็นฐานพบว่าอัตราเฉลี่ยการรับนักศึกษาประมาณแห่งละ 2 คน ดังนั้นจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะเข้าปฏิบัติงานสหกิจได้ในปี 2553, 2554 และ 2555 คือ 584, 830 และ 1,178 คน ตามลำดับ
จากผลการวิเคราะห์เพื่อประมินศักยภาพและความพร้อมในการจัดการสหกิจศึกษาขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตพบว่ายังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ปัจจัยที่สำคัญคือผู้บริหารระดับสูงของทั้งสถาบันการศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน จึงไม่ได้นำสหกิจศึกษากำหนดเป็นนโยบายในการจัดการศึกษาและผู้บริหารองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังไม่เห็นคุณค่าและประโยชน์ของผลงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา นอกจากนี้ทั้งคณาจารย์ พี่เลี้ยงในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตยังมีความรู้ความเข้าใจระหว่างสหกิจศึกษาไม่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษายังคงต้องรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและต่อเนื่อง |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Current situation, capabilities, and readiness on developing and implementing cooperative education in higher education institutions and corporate sponsors for cooperative education in Eastern Thailand.
The objective of this paper is to gather both quantitative data of the 6 higher educational institutions, members of Eastern Cooperative Education Network (ECON), and workplaces for cooperative education in Eastern Thailand during years 2008-2012, and also to analyze and evaluate the capabilities and readiness in developing and implementing the cooperative education program. The information from the finding is an follows:
1. Higher Education Institutions
Only 2 out of 6 universities in the year 2008 and 2009 conducted cooperative education programs. Out of these, there were 14 fields of studies in 6 faculties and 422 students participating in the programs in year 2008. There were 14 fields of studies in 5 faculities in the year 2010. In years 2010-2012 the numbers of institutionns, faculties, field of studies, and number of students are expected to slowly increase. There will be 4 institution conducting cooperative education programs by 2012. In the years 2010, 2011, and 2012 there would be 18, 21, and 22 fields of studies in 5, 7, and 8 faculties respectively, conducting cooperative education programs The increase of student numbers by 2010, 2011, and 2012 are projected to be 693, 893, and 905 students respectively.
2. Workplaces for Cooperative Education
The study found that there were 135 workplaces for cooperative education or 58.7% out of the total number of workplaces participating in cooperative education programs from the eastern region. The other 95 workplaces or 41.3% were situated outside the eastern region. Out of these numbers, 74 workplaces were in Bangkok Metropolitan area. In the year 2009, the increasing numbers of workplaces were 41.69% from the year 2008, made up of 207 workplaces. Considering the part growth rate, the study forecasts in year 2010, 2011 and 2012 there would be 293, 416 and 589 workplaces respectively.
Considering the balance between the number of students participating in cooperative education programs (Supply) and the numbers of job offer for cooperative education students (Demand), the study found that based on the cooperative education students received in year 2008 and 2009, an average of 2 students per workplaces program. So, the expected numbers of cooperative education workforce in year 2010, 2011 and 2011 would be 584, 830, and 1,178 persons respectively.
Lastly, the conclusion on the capabilities and readiness of the 6 higher educational institutions and workplaces for cooperative education revealed from the analysis and assessment, a low adoption of the cooperative education program. A major factor is that executives of both organizations lacked an understanding of the benefit of cooperative education and therefore, did not lead to organizational policies to initiate the program. Corporate executive did not see the value and benefit of work performance of the cooperative education students. In addition, administrators, instructors, job supervisors, and personnel staff of both organizations did not clearly understand the cooperative education system. The recommendation to the commission on higher education would be to continue campaigning consistently for increasing clarity and understanding of the cooperative education program. |
en |