Abstract:
หลายทศวรรษที่ผ่านมา หัวข้อเกี่ยวกับแบบทดสอบความพร้อมที่มุ่งเน้นการวัดและประเมินความสามารถเชิงวิชาการของเด็กปฐมวัยยังคงเป็นประเด็นที่นักการศึกษาปฐมวัยได้นำมาอภิปรายร่วมกันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดในแวดลงสังคมไทย เนื่องจากอิทธิพลของการสอบตัดเลือดอย่างเป็นทางการส่งผลให้เด็กอายุ 5-6 ปี ต้องทดสอบเพื่อรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษา ในมุมมองทางการศึกษาปฐมวัย การใช้คะแนนจากแบบทดสอบเพื่อจำแนกและตัดสินรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาเป็นการนำไปสู่ประเด็นปัญหา เนื่องจากเด็กจะได้รับโอกาสเพียงครั้งเดียวในการแสดงความรู้ความสามารถให้ปรากฏในขณะทดสอบเท่านั้น จึงไม่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล อีกทั้งไม่สามารถประเมินทักษะที่แท้จริงของเด็กที่มาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน ดังนั้นการประเมินที่เหมาะสมในการเข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ควรสมดุลระหว่างการใช้แบบทดสอบของโรงเรียนและแนวทางการประเมินตามสภาพจริง รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลจากแฟ้มสะสมผลงานของเด็กนับว่ามีความจำเป็นเช่น นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงในการรับเด็กเข้าศึกษาต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1 คือ ความรู้ ข้อจำกัด กระบวนการของการทดสอบในสภาพการณ์ที่เด็กค้นเคย และทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของการเรียนรู้ของเด็ก