Abstract:
ปัญหาทวินิยมโครงสร้าง - ตัวแสดงเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันในทางสังคมศาสตร์มาเป็นเวลานาน กล่าวคือ ในการอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ทางสังคม เกิดปัญหาว่ามาจากมุมมองเชิงโครงสร้างหรือมุมมองเชิงตัวแสดงผู้กระทำการ มุมมองใดจะสามารถอธิบายได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ทางสังคมดำเนินไปโดยที่โครงสร้างและตัวแสดงต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ฉะนั้น การอธิบายด้วยมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงโครงสร้างและตัวแสดงเข้าด้วยกัน จึงเปฌนความพยายามสร้างคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์และปฏิสัมพันธ์ที่ต่างมีต่อกันและกัน ปิแอรื บูร์ดิเออ นักแสดงวิทยาชาวฝรั่งเศสได้สร้างมโนทัศน์ฮาบิตุสเพื่อเชื่อโยงโครงสร้างและตัวแสดง โดยเสนอว่าฮาบิตุสเปฌนปฏิบัติการที่อยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล โดยฮาบิตุสจะแสดงให้เห็นถึงการทำให้เป็นภายในของปัจจักภายนอก และการทำให้เป็นภายนอกของปัจจัยภายใน กระบวนการเหล่านี้จะถูกแสดงออกผ่านการปฏบัติของตัวแสดง การที่ตัวแสดงแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันก็เนื่องจากทุนที่ตัวแสดงครอบครองและตำแหน่งที่ตัวแสดงดำรงอยู่ในสนาม โครงสร้างจึงมีอิทธิพลต่อตัวแสดงในฐานะที่เป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแลพแสดงออกของตัวแสดง ขณะเดียวกันตำแหน่งและสนาม รวมถึงการครอบครองทุนของตัวแสดงก็จะเป็นเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการที่ตัวแสดงจะตัดสินใจปฏิบัติการบางอย่างด้วยตัวเอง ฉะนั้น ฮาบิตุสจึงเป็นมโนทัศน์หนึ่งที่สามารถอธิบายการเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างและตัวแสดงได้เป็นอย่างดี