Abstract:
ครูสงบ ทองเทศ เกิดปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ – ๒๕๖๐ อายุ ๘๑ ปี เป็นศิลปินดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออกด้านการบรรเลงระนาดเอกเป็นอย่างดี เติบโตมาจากครอบครัวทางดนตรี เรียนดนตรีครั้งแรกกับนายหย่อน ทองเทศ ผู้เป็นบิดา จากนั้นศึกษาเพิ่มกับครูดนตรีไทยอีกหลายท่าน ได้แก่ ครูแสวง (ไม่ทราบนามสกุล) ครูจำรัส ดำทองสุข ครูจำลอง ราชวัตร ครูประสงค์ พิณพาทย์ ครูชฎิล นักดนตรีและครูเฉลิม
บัวทั่ง ในวงปี่พาทย์ ท่านมีเชี่ยวชาญการบรรเลงระนาดเอกเป็นอย่างมาก ศึกษาเรียนรู้เพลง ประเภทมาเป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้จากการถ่ายทอดเพลงเดี่ยวระนาดเอกเพลงพญาโศก สามชั้น จากการศึกษาพบว่าทางเพลงที่ได้สืบทอดองค์ความรู้ให้กับผู้วิจัยและนิสิตสาขาดนตรีไทย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพานั้นท่านสืบทอดมาจากสำนักดนตรีไทยที่ยิ่งใหญ่ในประเทศไทยที่สุด ได้แก่ที่สำนักพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) แต่ในส่วนทำนองเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงนั้น ท่านได้ศึกษาทางเพลงกับครูศิริและครูชฎิล นักดนตรี ศิลปินที่มีชื่อเสียงในด้านความรู้และความสามารถศิษย์เอกสารนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และได้รับมอบให้อ่านโองการไหว้ครูจากสายสำนักนี้ด้วยโดยมีครูสวิต ทับทิมศรี เป็นผู้ มอบตาราโองการพิธีไหว้ครูให้สืบทอดต่อไป
จากการศึกษา พบว่าลักษณะเด่นเฉพาะตนของครูสงบ ทองเทศนั้น เป็นที่ผู้น่าเคารพนับถือ ของนักดนตรีไทยในภาคตะวันออกเป็นอย่างดี เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมมากกว่าหวัง ผลตอบแทน ถ่ายวิชาความรู้ทางดนตรีให้กับบุคคลทั่วไป
ให้แก่ โรงเรียนดาราสมุทร คณะศึกษาศาสตร์และคณะดนตรีและการแสดงมหาวิทยาลัยบูรพามายาวนานจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งท่านยัง เป็นผู้ที่รักษาสัจจะกับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างดีและมีความประพฤติที่เรียบร้อยต่อหน้าและลับหลัง สมควร
ถือเป็นครูต้นแบบให้เยาวชนคนดนตรีไทยได้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไปในอนาคต