Abstract:
การศึกษาลักษณะประจําพันธุ์กุหลาบลูกผสม 30 พันธุ์ ที่รวบรวมไว้ในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการรวบรวมพันธุ์ อนุรักษ์ และประเมินพันธุ์ กุหลาบที่เหมาะสมกับการปลูกในจังหวัดสระแก้ว โครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม พืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยเก็บ ข้อมูลลักษณะประจําพันธุ์ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 พบว่า มีความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะการมีหนามที่กิ่ง 4 แบบ คือ ไม่มีหนาม หนามใหญ่ หนามละเอียด หนามใหญ่และหนามละเอียดในกิ่งเดียวกัน หูใบ 2 แบบ คือ ติ่งแหลมขอบ เรียบและติ่งแหลมขอบมีขนครุย สีก้านใบ 2 สี คือ สีเขียวและสีแดง ลักษณะแผ่นใบ 3 แบบ คือ แผ่น ใบเรียบ แผ่นใบบิด แผ่นใบห่อ สีขอบใบ 2 สี คือ สีเขียวและสีแดง รูปร่างใบ 5 แบบ คือ รูปไข่ รูปขอบขนาน รูปไข่กลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ และรูปกลม ลักษณะขอบกลีบเลี้ยง 3 แบบ คือ ขอบ เรียบ ขอบมีติ่งแหลม และขอบจักลึก ลักษณะรูปทรงดอก 7 แบบ คือ ถ้วยลึก ถ้วยตื้น ถ้วยเปิด ทรง สูง ทรงแบน ทรงกลม และทรงโบ้วกรรมการ ลักษณะสีกลีบดอก 4 แบบ คือ กลีบสีเดียวทั้งกลีบ กลีบหลายสี กลีบสีด้านในและด้านนอกต่างกัน และกลีบเปลี่ยนสีเมื่อดอกบาน จํานวนกลีบดอก 6 แบบ คือ ดอกชั้นเดียว ดอกกึ่งซ่อน ดอกซ่อน ดอกซ่อนมาก ดอกแน่น และดอกแน่นมาก ลักษณะ กลางดอก 5 แบบ คือ ตาที่กลางดอก กลางเปิด กลางหยุกหยิก กลางสูง และกลางแบ่ง 4 ซึ่งจาก ข้อมูลลักษณะประจําพันธุ์นี้ จะถูกนําไปใช้เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกในจังหวัดสระแก้ว ต่อไป
การศึกษาการตัดแต่งกิ่งสี่แบบคือ 1) ตัดแต่งเหลือกิ่งหลักยาว 5 เซนติเมตร 2 กิ่ง 2) ตัดแต่ง เหลือกิ่งหลักยาว 15 เซนติเมตร 2 กิ่ง 3) ตัดแต่งเหลือกิ่งหลักยาว 15 เซนติเมตร 3 กิ่ง 4) ตัดแต่ง เหลือกิ่งหลักยาว 15 เซนติเมตร 3 กิ่ง ในกุหลาบ 3 ชนิด คือกุหลาบแดง กุหลาบหนู และกุหลาบพันธุื ซัมเมอร์สโนวื สามารถแนะนํากับเกษตรกรได้ว่า ควรตัดแต่งกิ่งกุหลาบแบบปานกลาง คือเหลือความ ยาวกิ่งไว้ 15 เซนติเมตร จํานวน 3 กิ่ง จะทําให้กุหลาบแตกตาใหม่ออกมาได้มากที่สุด