dc.contributor.author |
อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์ |
th |
dc.contributor.author |
ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล |
th |
dc.contributor.author |
จีรศักดิ์ สุวรรณโณ |
th |
dc.contributor.author |
เรวัตร ใจสุทธิ |
th |
dc.contributor.author |
สิริวัฒน์ พงศแพทย์พินิจ |
th |
dc.contributor.author |
วันดี โชคช่วยพัฒนากิจ |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:10:04Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:10:04Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2009 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอน STEM Education ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทย และ 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความสามารถครู มัธยมศึกษาด้านการออกแบบบทเรียน STEM Education โดยการศึกษาบทเรียนและเครือข่ายสังคม ออนไลน์ โดยการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research: CAR) และการศึกษาบทเรียน (Lesson Study) โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ให้ข้อมูลพื้นฐาน ด้านนโยบายและแนวทางการการปฏิบัติเพื่อการวิเคราะห์ความต้องการของรูปแบบ กลุ่มที่ 2) ผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้ข้อมูลด้านการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา กลุ่มที่ 3) ครูและนักเรียน ในการทดลองใช้รูปแบบ เพื่อการปรับปรุงและแก้ไขรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนการสอน STEM Education ระดับมัธยมศึกษา ของประเทศไทย พบว่า รูปแบบการจัดการสอนสะเต็มศึกษาที่ทําการจัดการสอนนั้นแบ่งเป็น 2 รูปแบบ และ 3 ลักษณะ คือ 1.1) รูปแบบการสอนสะเต็มศึกษาที่เป็นทางการ คือ การกําหนดให้มีวิชาสะเต็มใน หลักสูตรการเรียน จัดให้มีการสอนสะเต็มเป็นรายวิชาบังคับที่คิดหน่วยกิต ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้วิชา
โครงงาน เป็นรายวิชาสะเต็ม จํานวน 1 หน่วยกิต เรียนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 1.2) รูปแบบสะเต็มศึกษาที่ไม่เป็นทางการ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1.2.1
การบูรณาการสะเต็มศึกษาในรายวิชา คือ ผู้สอน บูรณาการเนื้อหาสะเต็มศึกษาเข้าไปในรายวิชา และเนื้อหาวิชาที่ตนเองสามารถประยุกต์กิจกรรมหรือ วิธีการสอนด้วยตัวผู้สอนเองคนเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับครูผู้สอนวิชาอื่น และ 1.2.2)
การบูรณาการสะเต็ม ศึกษาข้ามสาขาวิชา ในลักษณะการจัดกิจกรรมวิชาการ หรือ ชุมนุมกิจกรรม คือ ใช้วิชาชมรม หรือช่วงเวลาที่เป็นวิชาเลือกโดยจัดให้นักเรียนที่มีความสนใจในกิจกรรมสะเต็มศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดกิจกรรมร่วมกับครู 2)รูปแบบการพัฒนาครูมัธยมศึกษาให้มีความสามารถในการออกแบบบทเรียน STEM Education ประกอบไปด้วย 10 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2) ขั้นการศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ STEM Education 3) ขั้นกําหนดลักษณะบทเรียน STEM Education 4)ขั้นการได้บทเรียน STEM Education 5)ขั้นตรวจสอบบทเรียน STEM Education 6) ขั้นทดลองใช้บทเรียน(ครั้งที่ 1) 7)ขั้น ปรับปรุงบทเรียน STEM Education (จากการทดลองใช้ครั้งที่ 1) 8)ขั้นทดลองใช้บทเรียน (ครั้งที่ 2) 9) ขั้นปรับปรุงบทเรียน STEM Education(จากการทดลองใช้ครั้งที่ 2) และ 10) ขั้นได้บทเรียน STEM Education ที่มีความสมบูรณ์(จากการทดลองใช้ และ ปรับปรุง 2 ครั้ง) ผลการสํารวจความพึงพอใจของ ครูต่อรูปแบบการพัฒนาครูมัธยมศึกษาให้มีความสามารถในการออกแบบบทเรียน STEM Education ความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.64 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวม 0.39 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก และ ผลการสํารวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียน STEM Education ที่ครูออกแบบความพึงพอใจ โดยรวม ต่อการเรียนบทเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.40 อยู่ใน เกณฑ์ดี |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
มหาวิทยาลัยบูรพา |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การจัดการเรียนรู้ |
th_TH |
dc.subject |
บทเรียน |
th_TH |
dc.subject |
รูปแบบการเรียนรู้ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
รูปแบบการพัฒนาครูมัธยมศึกษาให้มีความสามารถด้านการออกแบบ บทเรียน STEM Education โดยการศึกษาบทเรียนและเครือข่ายสังคมออนไลน์ |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
artnarong@buu.ac.th |
|
dc.author.email |
chalongc@buu.ac.th |
|
dc.year |
2560 |
|
dc.description.abstractalternative |
This study was Classroom Action Research. The main purposes of the research were to 1) to study condition of STEM teaching in Thai high schools and develop guideline for STEM teaching 2) to develop the development of secondary school teacher in designing STEM education by lesson study and social network. The samples used in this study were 1) Expert, to provide background information on the needs of the model. 2) Expert, to provide STEM teaching guideline of the model. 3)Teachers and students used to test the model.
The results were that: 1) STEM teaching in Thai high schools can be divided into two types. 1)Formal teaching that completely applies STEM education with course curriculum and compulsory credit requirements. 2)Informal teaching that integrates STEM subjects into additional courses or group activities without any restriction or credit requirements 2)The model composed of 10 steps were 2.1) Sample Selection process 2.2) Learn to understand STEM Education 2.3) Define STEM lesson plan 2.4) Design STEM lesson 2.5)Check STEM lesson 2.6) Try out STEM lesson(1st time) 2.7) Improve STEM lesson(after 1st try out) 2.8) Try out STEM lesson(2st time) 2.7) Improve STEM lesson(after 2st try out) 2.10) Complete STEM lesson as the satisfaction survey it was found that the satisfaction of teachers was very good (X 4.64 ; SD. 0.39 ) and the the satisfaction of students was good (X 4.18) |
en |