dc.description.abstract |
แผนงานวิจัย ปีที่ 3 ระยะที่ 3 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ มีโครงการวิจัยย่อย ภายใต้ แผนงานวิจัยจํานวน 5 โครงการวิจัยย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบเป็นเมือง ผู้สูงอายุแสนสุข ในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2)เพื่อพัฒนาแกนนําสุขภาพนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อ พัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 4) เพื่อศึกษาผลการให้คําปรึกษาด้วยเทคนิคเสริมสร้างพลังแห่งตนตามทฤษฏีโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 5)เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะ โภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อนชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดี 6) คุณลักษณะผู้สูงอา ยุจิตอาสาต้นแบบ กระบวนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสา และแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจิตอาสาเมืองแสนสุข 7) เพื่อศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ของผู้สูงอายุชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้วิจัย วิจัยกึ่งทดลอง วิจัยเชิงพัฒนา วิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เชิงปรากฏการณ์ วิทยา และ การวิจัยแบบผสมผสาน ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2557-กันยายน 2558 ซึ่งสามารถ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. การรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ อยู่ในระดับ ปานกลาง (X =3.16,SD = 0.68) และหลังได้รับการพัฒนา มี การรับรู้ อยู่ในระดับมาก (X =3.55, SD = 0.89) การรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ แกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชน ก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ใน ระดับ ปานกลาง (X =5.09) และหลังได้รับการพัฒนา อยู่ในระดับค่อนข้างทําได้
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนํา ในภาพรวม ก่อนและหลังได้รับการพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -3.872, p <.001) และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ได้แก่ ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน (t = -3.487, p <.001) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ ในอดีต (t = -4.640, p <.001) ด้านความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ (t = 4.787, p <.001) ด้านการ รับรู้ความต้านทานหรือความอ่อนแอของผู้สูงอายุ (t = -2.969, p <.01) ด้านการรับรู้แนวโน้มสุขภาพของ ผู้สูงอายุ (t = -2.178, p <.05) ด้านการยอมรับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ (t = -2.143, p <.05) และด้าน ทัศนคติบวกต่อการไปรับการรักษาจากแพทย์ (t = -2.207, p <.05) โดยมีด้านการปฏิเสธความเจ็บป่วยของ ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแตกต่างกัน (t = 0.109, p = 0.46)
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของแกนนําก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -9.565, p <.001) โดยพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญที่ระดับ .001 ได้แก่ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการผ่อนปรน(t = -3.707, p <.001) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้สูงอายุ (t = -7.735, p <.001) และด้านความสามารถในการควบคุมความคิดที่ไม่พอใจในการเป็นผู้ดูแล (t= -9.618, p <.001)
สรุป การพัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการพัฒนา ศักยภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ มีความสําคัญและช่วยให้แกนนํามีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น
4. ผลการให้คําปรึกษาแก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังโดยใช้เทคนิครัศมีพลังแห่งตนตามทฤษฎโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับ ระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังและมีภาวะซึมเศร้า กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คําปรึกษาด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการ ทดลองและระยะติดตามผลต่ํากว่าผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คําปรึกษาด้วยวิธีปกติ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผลต่ำกว่าาระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ผู้สูงอายุจิตอาสา มีประสบการณ์การทํางานจิตอาสา ระยะเวลานานที่สุด มากกว่า 10 ปีทุกคนปฏิบัติงานจิตอาสาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีคุณลักษณะสําคัญ 5 ประการ ได้แก่ มีใจรัก (Integrity) มีเวลา (Flexibility) มีความพร้อมส่วนตน (Energy) มีวินัย (Reliability) และมีความรับผิดชอบ (Responsibility) กระบวนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาระหว่างผู้สูงอายุจิตอาสากับหน่วยงานแบบยั่งยืน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) หน่วยงาน/ องค์กรที่ต้องการให้มีจิตอาสา มาปฏิบัติ ดําเนินการโดย 5 ขั้นตอน คือ ให้การยอมรับ กําหนดขอบเขตภารกิจที่ต้องการให้ช่วยปฏิบัติ ระบุพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติ กําหนด บุคคลประสานงานหลัก คัดเลือก และปฐมนิเทศ และ 2) ผู้สูงอายุที่สนใจปฏิบัติงานจิตอาสา ให้ศึกษา ขอบเขตงานที่จะปฏิบัติ เลือกพื้นที่ปฏิบัติ เตรียมความพร้อมส่วนตน จัดการตนเองให้พร้อมในการปฏิบัติ และเข้าร่วมดําเนินกิจกรรมและประเมินผล โดยมีประเด็นการเชื่อม 2 ส่วนนี้โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ต่าง ๆ การติดต่อกับบุคคลโดยตรง และการประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจิต อาสาเมืองแสนสุขในประเด็นด้านความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดําเนินกิจกรรม ทักษะความสามารถพิเศษ เช่น สิ่งประดิษฐ์ งานฝีมือ การทําขนม การทําอาหาร เป็นต้น การบริหารเวลา ความพร้อมส่วนตนด้านสุขภาพ และใจรักงานจิตอาสา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติงาน อันนําไปสู่ประโยชน์สูงสุดทั้งแก่องค์กร และ ผู้สูงอายุ จิตอาสา ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บริบทของผู้สูงอายุและกติกาของหน่วยงานนั้น ๆ
6. กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามมีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน คือมีดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสัดส่วนเอวกับสะโพกเกินเกณฑ์ ปริมาณไขมันในเลือดอยู่ในระดับสูง และชุมชนนี้อยู่ในแหล่งอาหารทะเล กลุ่มเสี่ยงทั้งหมดเข้าร่วม กําหนดรูปแบบการดูแลโดยมีแกนนําสุขภาพและสมุดบันทึกรายการอาหารและ ร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบผลค่าความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ําตาลในเลือด และค่าไขมันในเลือดโดยรวม ก่อนและหลังการทดสอบรูปแบบด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank test พบว่า ผู้สูงอายุ มีค่าบ่งชี้สุขภาพดีขึ้น อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) สําหรับค่า Mean arterial pressure ค่าดัชนี มวลกาย และค่า Triglyceride มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไม่มีนัยสําคัญ
7. ผลการทดสอบรูปแบบการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง โดยการนําไปทดลองใช้ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะพฤฒพลัง หลังการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 1 และ 4 สัปดาห์ สูงกว่ าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) และผลการประเมินรับรองรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ พบระดับความเหมาะสมของรูปแบบอยูในระดับมาก (X = 4.38, S.D. = 0.76) และผู้ประเมินได้รับรอง ความเหมาะสมของการนํารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลังไปใช้อยู่ในระดับมาก (X = 4.00 S.D. = 0.0) โดยมีขอเสนอแนะให้ปรับปรุงรูปแบบโดยกําหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของการเรียนรู้ไว้ด้วย เพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องในการพัฒนาภาวะพฤฒพลัง ส่วนการนํารูปแบบไปใช้มีข้อเสนอแนะดังนี้คือ 1) ควรคัด สรรชุมชนที่มีผู้นําชุมชนที่มีศักยภาพสูง 2) ควรคัดสรรชุมชนที่มีแกนนํา ผู้สูงอายุ 3) ควรมีบุคลากรที่ดําเนินงานเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดกิจกรรม เช่น นักวิชาการสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ และ 4) ควรมีการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าดําเนินการจัดกิจกรรม |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research program was to develop Saensuk happiness elderly community model. There were 6 projects under the programs. Sub- objectives were 1) to evaluate potential of student health leaders 2) to knowledge management and evaluate potential of family and community health leaders after learning followed by the guideline of Saensuk Happiness Family Health Leader Model.3) to determine the effects of Neuro-Linguistic Programming counseling on depression of the elderly with chronic illness at Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand. 4) explored the characteristics of senior volunteers living in Saensuk Municipality, Chonburi, Thailand. 5) to develop nutritional care and health model for elderly. 6) to validate the learning model to enhance active ageing level among the elderly in Saensuk Municipality, Chon Buri province.
Research methodologies were quasi-experimental, research and development , participatory action research, and phenomenological research,Study time since October 2014 to September 2015. It was found that;
After receiving the knowledge and activities from the guideline of Saensuk Happiness Family Health Leader Model the samples;
1. Increased the perception of well-being and health problems of the elderly in thehigh level (X =3.55, SD = 0.89) from the medium level (X = 3.16 ,SD = 0 .68) before receiving the knowledge and activities, and increased the perception of their ability in elderly health care in the quite certainly do level (X = 8.35) from the medium level (X =5.09) before receiving the knowledge and activities.
2. Comparison of elderly care potential in family and community health leadersperceive between before and after learning by this model were found that the overall mean score of their health perception and health problem of the elderly after learning were statistically significant at .001 level. There were statistically significant at .001 level in 3 aspects namely; Perceived health status of the elderly (t = -3.487, p <.001) Perceived health status in the past (t = -4.640, p <.001) and Concerns about elderly health (t = 4.787, p <.001). There was statistically significant at .01 level in 1 aspect; Perceived resistance or susceptibility of the elderly (t = -2.969, p <.01) and statistically significant at .05 level in 3aspect; Perceived health trend of the elderly (t = -2.178, p <.05), Acceptance of illness of the elderly (t = -2.143, p <.05) and Positive attitude towards treatment received from physicians (t = -2.207, p <.05). There was only one aspect of Rejection of illness of the elderly that was not statistically significant (t = 0.109, p = 0.46).
3. Comparison of the perception of their ability in elderly health care betweenbefore and after learning by this model were found that the overall mean score were statistically significant at .001 level. There were statistically significant at .001 level in all aspects such as Self-efficacy in relieving (t = -3.707, p <.001), Self-efficacy in responding to inappropriate behaviors of the elderly (t = -7.735, p <.001), and their ability to control thought dissatisfied with caregiving (t = -9.618, p <.001). In conclusion, the development of health, family and community leaders for elderly care by using the potential development model to care for the elderly is important to help them to improve their ability to care for the elderly.
4. The results of the effects of Neuro-Linguistic Programming counseling ondepression of the elderly with chronic illness found that the interactive between the method and the duration of the experiment was statistically significant at the .05 level. The elderly in the experimental group had lower depression scale than those in the group in the post-test and the follow up phases with the statistical significance at .05 level. The depression scale of the elderly in the experimental group was found to be lower during the post-test and the follow up phases than during the pre-test with the statistical significance at .05 level.
5. The result revealed that, most of senior volunteers who gave information andpractice at least once a week were experienced for over 10 years. Their missions were acted as information provider, demonstrator, coordinators, and donator. Their important characteristics were integrity, flexibility, energy, reliability, and responsibility. As volunteers, they had a feeling of happiness, self-value, healthy, increasing friendships and self-empowerment. The key principle to be probably led to success in sustainable voluntary activities including firstly, an organization should have sense of appreciation clearly identify the work unit assign a key coordinator incrusted determine to be a volunteer qualification and demonstration before the beginning of voluntary activities. Secondly, voluntary elderly should learned scope of work, selected an area, and subsequence, preparing to be ready themselves, working and evaluation. Mutual benefit should be derived from both parties. A principles of senior volunteer leader development should be composed of suitable voluntary elderly, support of local organization and effective communication
6. The findings showed at the first test that more than one third of the sample wasrisk to obese and metabolic status because some health parameters were higher than normal such as blood glucose, cholesterol, BMI and WHR. Most of the sample participated with THL on changing dietary behavior program and food record 3 months continuously.After that period of time, second survey was done for evaluation. There were found blood glucose and cholesterol significantly better (p<0.05). However, due to very short period intervention the results should be longer observed.
7. The results revealed that mean active ageing level increased significantly (p<0.001)1 week, and 4 weeks after participation of the learning activities. Experts had a consensus that the model was appropriate at a high level (X = 4.38, S.D. = 0.76), and that the model was suitable for implementation at a high level (X = 4.00 S.D. = 0.0), with recommendation to improve the model constructs by setting up the behavioral objectives of learning to achieve the continuity of active aging status. Recommendations for model application includes: community selection in which the community leaders are active, availability of key persons and responsible authorities such as public health professionals and social workers, and budget allocation to implement the activities |
en |