Abstract:
ผลกระทบของภาวะชราแบบปกติต่อการสร้างความจำถูกศึกษาเป็นอย่างมาก
ในแบบจำลองสัตว์ทดลองถึงแม้ว่าแบบจำลองสัตว์ทดลองจะให้ข้อมูลที่ดี
แต่การทดลองแบบนี้ก็ยากที่จะตัดปัจจัยแทรกซ้อนอื่น ๆ ภายในร่างกาย อันได้แก่ อิทธิพลของฮอร์โมน อาหารที่ได้รับ ตลอดจนกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในหลอดทดลองที่จะสร้างเป็นแบบจำลองภาวะชรา โดยเฉพาะในฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำ ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาผลของความชราต่อการแสดงออกของ synaptic protein ในแบบจำลองภาวะชราในหลอดทดลอง การศึกษาแบบจำลองภาวะชราในหลอดทดลองครั้งนี้ในเซลล์ประสาทฮิปโปแคมปัสมาทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลานาน 21 วัน จากนั้นศึกษาการทำงานของเอนไซม์ beta-galactosidase เพื่อบ่งชี้ว่าเข้าสู่ภาวะชราด้วยชุดวัดสำเร็จรูป นอกจากนี้ยังศึกษาค่าการมีชีวิตของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay อีกด้วย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริเวณ synapse เป็นกลไกหลักที่ใช้ในการบ่งชี้ภาวะความจำ ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงทำการศึกษา
การแสดงออกของ synaptein protein ที่สำคัญ ได้แก่ cofilin และ neuroligin ซึ่งเป็นโปรตีนเป้าหมายที่พบมากบริเวณ synapse ด้วยวิธี western blot โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า มีการแสดงออกของ neuroligin ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสุิติในกลุ่มที่เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 21 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่เพาะเลี้ยง 16, 8, และ 2 วัน แสดงให้เห็นว่า ในภาวะชราเป็นสาเหตุของการแสดงออกที่ลดลงของ neuroligin ไม่เกี่ยวกับ cofilin สรุปได้ว่า การทำงานของ synapse ลงลงในภาวะชราเป็นแบบขึ้นกับ neuroligin การค้นพบครั้งนี้อาจจะนำไปสู่กลไกใหม่ของภาวะความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ