Abstract:
การศึกษาทิศทางการไหลของน้ำและ ปริมาณตะกอนแขวนลอยต่อความหลากหลายของปะการังบริเวณหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี ตลอดทั้งปีตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทิศทางการไหลของน้ำ ทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอน ปริมาณตะกอนทั้งผิวน้า และพื้นท้องน้ำถูกศึกษาด้วยเครื่องมือเฉพาะ (current meter and water trap) ผลการศึกษาพบว่า ทิศทางการไหลของกระแสน้ำกับทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนในฤดูฝนมีแนวโน้มมาจากปากแม่น้ำแขมหนูเป็นส่วนมาก ส่วนในฤดูหนาวนั้นทิศทางการไหลของกระแสน้ำกับทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนนั้นเป็นแบบสม่ำเสมอเนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบของคลื่นลมและกระแสน้ำ สำหรับในเดือนสิงหาคม มีนาคม และมิถุนายน พบว่าตะกอนผิวน้ำ และพื้นท้องน้ำมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในฤดูฝนซึ่งจะพัดพาตะกอนจากชายฝั่งลงทะเล
ผลการศึกษาพบว่าตะกอนบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนมีขนาดเล็กกว่า และมีปริมาณน้อยกว่าตะกอนบริเวณปากแม่น้ำแขมหนู ผลการสำรวจแนวปะการังทั้ง 3 แนว พบว่า ในแนวสำรวจที่ใกล้กับอ่าวคุ้งกระเบน และหาดเจ้าหลาวมีความหลากหลายของปะการังมากกว่าในบริเวณปากน้ำแขมหนู สำหรับปริมาณฟอสเฟต และซิลิเกตพบได้มากในฤดูฝนมากกว่าฤดูแล้ง ในขณะที่ตะกอนแขวนลอย ความเค็ม และอุณหภูมิพบได้ปริมาณมากในฤดูร้อนมากกว่าฤดูฝน ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการนำไฟฟ้าและค่าตะกอนแขวนลอยค่าเท่ากับ 0.38 ค่าแอมโมเนียและไนเตรท
มีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันตรง โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.62