DSpace Repository

การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในการผลิตสีผสมอาหารที่ปลอดภัย

Show simple item record

dc.contributor.author รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์ th
dc.contributor.author อุดมลักษณ์ ธิติรักษ์พาณิชย์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:56Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:56Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/195
dc.description.abstract จากการเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง จากบริเวณชายฝั่ง บางตัวอย่างเป็นดินบริเวณป่าชายเลนในจังหวัดชลบุรี และบริเวณหาดสวนสน จังหวัดระยอง และได้ตัวอย่างทั้งหมด 29 ตัวอย่าง นำดินมา Pretreat ที่ 55 ° C 15 นาที และที่ 100 ° C 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาเจือจาง 10 -100 เท่า และเกลี่ยลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Starch casein ager (SCA) และ Humic acid vitamin ager (HA) หลังจากที่ได้บ่มเชื้อไว้ 7 – 14 วัน ที่ 35 ° C และนำเชื้อแอคติโนมัยซีท ขึ้นบนจานเพาะเชื้อมาตรวจดู แยกเชื้อและทำให้บริสุทธิ์พบเชื้อแอคติโนมัยซีททั้งหมด 286 ไอโซเลต เป็นเชื้อที่แยกได้จากจังหวัดชลบุรี 162 ไอโซเลต และจากจังหวัดระยอง 124 ไอโซเลต โดยพบทั้งแอคติโนมัยซีทที่มีโคโลนีสีต่าง ๆ คือ สีเทา เทาเขียว ชมพู แดง น้ำตาล เหลือง ส้ม และสีม่วง เชื้อแอคจติโมมัยซีทส่วนใหญ่ที่สร้างรงควัตถุได้มาก เป็นแอคติโนมัยซีทในสกุล Streptomyces โดยที่มีเชื้อที่สร้างรงควัตถุที่ละลายลงในอาหารเลี้ยงเชื้อได้มีทั้งสี เหลือง น้ำตาล น้ำตาลเหลือง ม่วง ชมพู สีแดง สีเขียว และสีเขียวเหลือง โดยสร้างรงควัตถุละลายสีน้ำตาลมากที่สุด (17 isolates) รองลงมาคือสีเหลือง (12 isolates) และสีน้ำตาลเหลือง สีม่วง สีชมพู สีแดง สีเขียว และสีเขียวเหลือง 9, 3, 3, 3, 2, 1 isolates ตามลำดับ นอกนั้นก็เป็นรงควัตถุที่ sporemass และที่ substrate mycelium ซึ่งมีทุกสีที่กล่าวมา จากกการนำเอา แอคโนมัยซีทที่สร้างรงควัตถุได้มาเลี้ยงในอาหารชนิดต่าง ๆ กัน พบว่าส่วนมากแล้วแอคติโนมัยซีทเจริญได้ดี และสร้างสีได้มากในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP2 และ ISP3 รงควัตถุละลายส่วนมากละลายได้ดีใน Methanol และรงควัตถุที่สร้างขึ้น ส่วนมากไม่เป็นพิษ เนื่องจากผลการทดสอบระดับความเป็นพิษนั้น ในความเข้มข้นของสาร ตั้งแต่ 0.781 µɡ / ml ไม่พบว่า artemia ตายไปภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของการทดสอบ ยกเว้น strain A 11-8 ที่ให้ค่า LC50 ที่ 0.781 µɡ / ml ซึ่งการใช้ค่า LC50 สำหรับเป็นเครื่องชี้บอกถึงระดับความเป็นพิษของสารนั้น หากค่า LC50 มากกว่า 20 µɡ / ml จะถูกนับว่าสารนั้นไม่มีพิษ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550 และ 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ - - การใช้ประโยชน์ th_TH
dc.subject สีผสมอาหาร th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในการผลิตสีผสมอาหารที่ปลอดภัย th_TH
dc.title.alternative Utilization of microorganisms for safety food dye en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2551


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account