dc.contributor.author |
ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:10:00Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:10:00Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1957 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการผ่อนคลายด้วยเทคนิค classical relaxation ต่อความเครียดของนักศึกษาสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย มีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไป (คะแนนความเครียดตั้งแต่ 24 คะแนนขึ้นไป) ใช้การสุ่มอย่างง่ายจัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung stress test-20) ของกรมสุขภาพจิต ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.86 ปรอทวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว บทพูดนำเข้าสู่กระบวนการผ่อนคลายแบบคลาสสิก (classical relaxation technic) (Villar, 1997) ผู้วิจัยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุงทดสอบ และวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว ในระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการฝึกผ่อนคลายเทคนิค classical relaxation ระยะเวลาฝึกครั้งละ 6 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมนั่งพักนาน 6 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ระยะหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความเครียดของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกับระยะ ก่อนการทดลอง และไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม
2. ระยะหลังการทดลองอุณหภูมิปลายนิ้วของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การฝึกผ่อนคลายโดยใช้เทคนิค classical relaxation ทาให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายภายในระยะเวลา 6 นาที จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้กับนักกีฬา เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายในระยะเตรียมสู่สนามแข่ง หรือช่วงพักระหว่างการแข่งขัน จึงควรนำไปใช้ในสถานการณ์การแข่งขันกีฬาจริง |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
en |
dc.language.iso |
Th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ความเครียด |
th_TH |
dc.subject |
เทคนิค classical relaxation |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
ผลการใช้เทคนิค classical relaxation ต่อระดับความเครียดของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effects of classical relaxation technic on stress level of students in a high education institute |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.author.email |
tanida@buu.ac.th |
|
dc.year |
2560 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study effects of classical relaxation technic on stress level of students in a high education institute. This research was an experimental research design. The sample of students from faculty of sport science , Burapha university, in the 2558 academic year. The volunteered participants had moderate stress levels (stress score of 24 points or more) were drawn by a simple random sampling, 52 persons. A simple random assignment was using for arrange the subjects to the experimental group and the control group, with 26 members each.
The instruments consist of Suanprung stress test-20 of the department of Mental Health (Cronbach's Alpha Coefficient .86 ), finger thermometer, classical relaxation script (Villar, 1997).
The researcher used Suanprung stress test and finger thermometer in pre-test and post - test periods. The experimental group received relaxation training by classical relaxation technic, one session of six minutes, three times a week for eight weeks. The control group sat to rest for six minutes. The data analysis was done by t-test. The results revealed that.
1. At the post- test period, the experimental group had stress scores were not different from the pre-test period. The experimental group had stress scores were not different from the control group.
2. At the post- test period, the experimental group had higher finger temperature than the pre-test period with a statistically significant at .05 level. The experimental group had higher finger temperature different from the control group with a statistically significant at .05 level.
Training relaxation technic using classical relaxation makes the body feel relaxed within six minutes, making it an ideal for use with athletes. To prepare the body in preparation for the competition or during the break between competition. It should be used in the actual sporting event |
en |