Abstract:
การศึกษาศักยภาพของแบคทีเรียทะเล: แหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยดำเนินการคัดแยกแบคทีเรียอาศัยอยู่ในฟองน้ำแต่ละตัวอย่างแตกต่างกัน จากฟองน้ำ ๓๓ ตัวอย่าง เมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง จังหวัดชุมพร สามารถนำมาคัดแยกแบคทีเรียได้ ๒๘ ตัวอย่าง โดยพบมีแบคทีเรียอาศัยอยู่จำนวนน้อยที่สุดใน ฟองน้ำครกแขนง IMS 43 จำนวน
8.36 x 105 โคโลนีต่อกรัม และมากที่สุด ฟองน้ำเชือก IMS 60 จำนวน 1.01 x 107 โคโลนีต่อกรัม และสามารถคัดแยกแบคทีเรียให้บริสุทธิ์ ได้โดยศึกษาความหลากหลายในเบื้องต้นจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างเช่น ลักษณะรูปร่าง ขอบ และรงควัตถุ โดยสามารถคัดแยกให้บริสุทธิ์ได้จำนวน 189 ไอโซเลต เมื่อทำการตรวจหาฤทธ์ทางชีวภาพจากแบคทีเรียทะเลจากเกาะสากและเกาะละวะ จำนวน 119 ไอโซเลต พบว่า มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียทดสอบ 4 ชนิด คือ Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Vibrio alginolyticus, และ Escherichia coli ที่น่าสนใจจำนวน 19 ไอโซเลต จากฟองน้ำ 12 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยสารสกัดส่วนของเซลล์ด้วย methanol and chloroform (ratio 2:1) และส่วนน้ำเลี้ยงบคทีเรียสกัดด้วย ethyl acetate ด้วยการใช้สเปรย์ 0.02% DPPH บน TLC plate
พบว่า สารสกัดจากเซลล์แบคทีเรีย 5 ตัวอย่าง และจากน้ำเลี้ยง 9 ตัวอย่าง ให้ผลแสดงถึงศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในเบื้องต้น ซึ่งแบคทีเรียไอโซเลต IMS-C 1-3, IMS-C 1-6, IMS-C 8-5 และ IMS-C 11-2 แสดงฤทธิ์ทางชีวภาพทั้ง 2 ชนิดที่ทดสอบที่ดี จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงถึงศักยภาพของแบคทีเรียที่อาศัอยู่กับฟองน้ำ จึงควรรที่จะมีการศึกษาต่อเนื่อง ถึงฤทธิ์ทางชีวภาพในด้านอื่นๆ การจำแนกชนิดแบคทีเรียเพิ่มเติม ตลอดจนการศึกษาถึงองค์ประกอบที่สำคัญต่อไป