DSpace Repository

โครงการผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียว, Synchiropus splendidus, Herre, 1927 ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต: การยอมรับอาหารและการสืบพันธุ์

Show simple item record

dc.contributor.author จารุนันท์ ประทุมยศ th
dc.contributor.author สุพรรณี ลีโทชวลิต th
dc.contributor.author ณิษา สิรนนท์ธนา th
dc.contributor.author ศิริวรรณ ชูศรี th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:57Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:57Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1922
dc.description.abstract เดือนในธรรมชาติปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus) กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่แพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้เพาะเลี้ยงยากในที่กักขัง อาร์ทีเมียแต่ ทำได้ง่าย เจริญเติบโตเร็วซึ่งเป็นอาหารทางเลือกในการเลี้ยงปลาแมนดารินเขียวแต่ขนาดและปริมาณอาร์ทีเมียที่ให้ปลาแมนดารินเขียวกินและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ต้องทำการศึกษา นอกจากนี้ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารเม็ดทดแทนการใช้อาหารมีชีวิตยังไม่มีรายงานการวิจัย ในการวิจัยนี้มีการทดลอง 2 การทดลองในการทดลองปีที่ 1 ศึกษาผลของขนาดและความหนาแน่นของอารืทีเมียต่อผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว Synchiropus splendidus, Herre, 1927 (F1) ในการทดลองปีที่ 2 ศึกษาผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารมีชีวิตและอาหารสำเร็จรูปต่อการสืบพันธุ์และผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว (F1) นอกจากนี้ ยังทำการศึกษาพัธนาการอวัยวะสืบพันธุ์ปลาแมนดารินเขียวระยะวัยรุ่นจนกระทั้งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในการทดลองปีที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 4x3 การทดลองแบบสุ่มตลอด ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดการทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด .05 ตัว/มิลลิลิคร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟัก .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 4 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 1 ตัว/ลิตร/ ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟักจำนวน .05 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง อารืทีเมียตัวเต็มวัยที่เตรียมไว้ในการทดลองเลี้ยงด้วยสไปรูไลนาอบแห้งเป็นอาหารตลอดเวลา ก่อนที่จะนำไปอาร์ทีเมียไปใช้ทดลองทำการเสริมอาหารในอาร์ทีเมียด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกัน 2 ชนิด เป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 ซม. ระหว่างเตตราเซลมิส (Tetraselmis gracilis) และไอโซไคลซิส (Isochrysis glabana) หรือระหว่างเตตราเซลมิส (T. gracilis) และนาโนโครลอปซิส (Nanochrolopsis oculata) เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 14 เดือน ทดลองในตู้กระจกขนาด 45x120x50 เซนติเมตรบรรจุน้ำ 270 ลิตร ตู้ทดลองแบ่ง 2 ส่วนคือส่วนเลี้ยงปลา (180 ลิตร) และส่วนเก็บไข่ (90 ลิตร) ให้อาหารปลาแมนดารินเขียว 2 ครั้ง/วัน หลังจากทดลองเป็นระยะเวลา 9 เดือน (ปลาแมนดารินเขียวอายุ 2 ปี) พบว่าในทุกชุดการทดลองปลาเพศเดียวกันมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่ปลาเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยจำนวน 1 คู่ ที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง เริ่มผสมพันธุ์และให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือน (ก่อนชั่งวัดขนาดปลาสิ้นสุดการทดลอง 3 เดือน) จึงคาดว่าปลาแมนดารินเขียวเพศผู้ที่เลี้ยงในที่กักขังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มีน้ำหนัก 3.70 กรัม ความยาวลำตัว 5.54 เซนติเมตรและเพศเมีย มีน้ำหนัก 3 กรัม ความยาวลำตัว 5.39 เซนติมเตร ปลาแมนดารินเขียวคู่นี้ผสมพันธุ์ออกไข่ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน จำนวน 10 ครั้ง ไข่ปลามีปริมาณ 48-253 ฟอง (ขนาดเฉลี่ย 0.78+- 0.02 มม) จำนวนไข่ที่ได้รับการผสมพัฒนาและเป็นตัวอ่อนเพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งการออกไข่แสดงว่าการเสริมสารอาหารในอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันและให้แลาแมนดารินเขียว (F1) อายุ 14 เดือน กินอัตราอย่างน้อย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อวันเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน มีสารอาหารพอเพียงในการเลี้ยงปลา S. splendidus ในที่กักขังและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ ลูกปลาแมนดารินเขียวแรกเกิดเป็นระย pro-larvae ซึ่งมีลำตัวใสและมีถุงไข่แดงขนาดใหญ่ปากและสีของตายังไม่พัฒนาและมีระบบทางเดินอาหารเป็นเส้นตรง จากผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารในอาร์ทีเมียทดลองพบว่า อาร์ทีเมียแรกฟักมีโปรตีนและไขมันสูงกว่าอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย อาร์ทีเมียตัวเต้มวัยกินแพลงตอนก์พืชผสม T. gracilis แล N. oculata มีโปรตีนสูงกว่าอาร์ทีเมียกิน T.gracilis และ l. galbana แต่อาร์ทีเมียเหล่านี้มีไขมันไม่แตกต่างกัน อาร์ทีเมียทดลองทั้งสองขนาดมีกรดไขมันที่จำเป็นขนาดโซ่ยาว eicosapentaenoic acid 3% แต่ไม่มีกรดไขมัน docosahexaenoic acid อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยที่กินแพลงก์ตอนพืชผสมมี arachidonic acid 1% ในการทดลองปีที่ 2 ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง (ชุดควบคุม) ชุดทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง ชุดทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 4 ตัว/ ลิตร/ ครั้ง ชุดทดลองที่ 4 ให้กินอาหารเม็ดชนดจมน้ำ (5-10% ของน้ำหนักตัวเริ่มต้นทดลอง) การเตรียมอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยใช้ในการทดลอง ใช้วิธีการเดียวกับการทดลองปีที่ 1 แต่เพิ่มระยะเวลาในการเสริมสารอาหารด้วยแพลงก์ตอนพืชสองชนิดเป็นเวลาประมาณ 18-24 ชั่วโมง เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 15 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปลาแมนดารินเขียวเพศเมีย 1 ตัวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ ลิตร/ครั้ง ให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือน (19 เดือน) และปลาแมนดารินเขียว 2 ตัวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 4 ตัว/ลิตร/ครั้ง ให้ผลผลิตไข่เมื่ออายุ 2 ปี (24 เดือน) และอายุ 2 ปี 5 เดือน (29 เดือน) ปลาแมนดารินเขียวกินอาร์ทีเมียทั้งสองระดับให้ผลผลิตไข่ใน 3 ครั้งแรกของการออกไข่ประมาณ 24-46 ฟอง เมื่อปลามีขนาดและอายุเพิ่มขึ้น จำนวนไข่ปลามีปริมาณไม่คงที่แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (263 ฟอง) แต่ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปและกินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งไม่มีพฤติกรรมการออกไข่ นอกจากนี้ในระหว่างการทดลองอากาศเปลี่ยนแปลงและอุณหภูมิลดลงกระทันหันในเดือนพฤศจิกายน 2558 และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ทำให้ปลาทดลองตายจำนวนมากโดยเฉพาะปลาเพศผู้ ปลาเพศเมียที่ออกไข่แล้วและเหลือตัวเดียวในตู้มีพฤติกรรมออกไข่ต่อไปแสดงว่าปลาแมนดารินเขียว เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ปล่อยไข่ได้โดยไม่ต้องมีปลาเพศผู้กระตุ้นการออกไข่ จากการศึกษาพัฒนาการอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียวด้วยเทคนิคเนื้อเยื่อวิทยาพบว่า ปลาแมนดารินเขียวอายุ 12 เดือนขึ้นไปมีการสร้างไข่ (oogenesis) และสเปริม์ (spermatogenesis) โดย oocytes ที่พบมีหลายระยะจึงสอดคล้องกับผลการทดลองที่พบว่าปลาแมนดารินเขียวมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ออกไข่หลายครั้ง (multiple spawning) และปริมาณไข่ที่ปล่อยออกมาแต่ละครั้งมีจำนวนไม่คงที่ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การสืบพันธุ์ th_TH
dc.subject การเพาะเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลาแมนดารินเขียว th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title โครงการผลของการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียว, Synchiropus splendidus, Herre, 1927 ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นเพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต: การยอมรับอาหารและการสืบพันธุ์ th_TH
dc.title.alternative The effects of feeding mandarinfish, Synchiropus splendidus, Herre, 1927 broodstocks with artificial diets as a replacement for live feeds with emphasis on the acceptablity and its impacts on the reproductive capability en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative In the wild, green mandarinfish , Synchiropus splendidus Herre, 1927 feed principally on a range of zooplankton, however, rearing zooplankton under captive conditions remains problematic. While Artemia are used intensively in aquaculture for rearing finfish, they have the benefit of being fast growing and readily available and therefore may serve as an alternative live feed for S. splendidus, however, the right size and density of Artemia to present to the fish needs to be determined. The replacement of live feeds with artificial diets, however, remains to be investigated. For the current study, two experiments were conducted. The first set out determine what size and density of Artemia were appropriate for maintaining growth and led to successful spawning events. The second trial set out to compare feeding an artificial diet with adult Artemia presented at different ratios on the spawing of S. splendicus. Investigations were supported by histology to follow the development of the reproductive organs in juvenile (i.e. 6 months-old) fish through to maturity (i.e. 24 months- en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account