dc.contributor.author |
เวธกา กลิ่นวิชิต |
th |
dc.contributor.author |
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ |
th |
dc.contributor.author |
สรร กลิ่นวิชิต |
th |
dc.contributor.author |
พวงทอง อินใจ |
th |
dc.contributor.author |
คนึงนิจ อุสิมาศ |
th |
dc.contributor.author |
พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:09:56Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:09:56Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1912 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นโครงการย่อยที่ 3 เรื่อง "การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัว และชุมชน เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี" ในชุดแผนงานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข ซึ่งในปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จำนวน 5,797 คน บุคคลในครอบครัว จำนวน 10,253 ครัวเรือน ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 33 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ผู้ดูแล/ สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ตัวแทนชุมชน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน ดำเนินการศึกษาวิจัยตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหา 2) การวางแผนแก้ปัญหา 3) การลงมือปฏิบัติ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติและประเมินผล เก็บข้อมูลโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการพัฒนาผู้ดูแลและแกนนำในครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม ด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติการดูแล และทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุ 2) การประเมินศักยภาพในการดูแลอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง 3) การพัฒนาปรับปรุงศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ และ 4) การสรา้งชุมชนนักปฏิบัติเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อช่วยเพื่อน แบบจิตอาสา และแบบวิชาชีพ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ - - การดูแล |
th_TH |
dc.subject |
แกนนำสุขภาพ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ปีที่ 2): รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของแกนนำครอบครัว และชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโดยการใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development family and community health leader for elderly in community: Saensuk municipality Chonburi (Phase I): Assessment of health leader in family and community for elderly care |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2558 |
|
dc.description.abstractalternative |
This research was the second phase of the third project of "Development Family and Community Health Leader for Elderly in Community". The purpose of this research was to develop a model for improving potential of health leader for elderly care in Saensuk Municipality, Chon Buri, Thailand. The 75 samples which were selected from the 5,797 older people, total health leaders in families population of 10,253 householda and the health leaders in 33 communities in Saensuk Municipality. There were 30 elders 30 health leaders in the family and 15 health leaders in the community. The participatory research processes were conducted in four stages: 1) Identification needs or seeking problems 2) planning solution, 3) practice 4) to reflect the performance and evaluation. Collecting data by using quantitative and qualitative research methods. In-depth interviews, Focus group, participatory observation and questionnaires. Data were analyzed by using content analysis and descriptive statistics. This study showed that an important component of the development model consists of 1) preparing the knowledge, practice skills, and positive attitude in elderly care 2) to evaluate the potential with systematic and continuous 3) to improve potential of care for the elderly, and 4) creating a community of practice to share knowledge in elderly care by peer, volunteer and professional. |
en |