DSpace Repository

การใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ชัยยศ ปานเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:42Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:42Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/18
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามระดับการศึกษา ประเภทนิสิต และกลุ่มสาขาวิชา 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา และ 4) เปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตามระดับการศึกษาประเภทนิสิต และกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2548-2550 ซึ่งเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งหาคปกติและภาคพิเศษ วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA กลุ่มตัวอย่างจำนวน 332 คน และนิสิตตอบแบบสอบถามคืนมา จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 86.74 ผลการวิจัยพบว่า นิสิตกำลังศึกษาระดับปริญญาโท เป็นนิสิตภาคปกติมากที่สุด โดยเป็นนิสิตกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด การใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ นิสิตส่วนใหญ่ใช้ รายงานการวิจัย มากที่สุด ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นิสิตส่วนใหญ่ใช้ Science Direct, วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (ThaiLIS) และ Journal Link ปัญหาและอุปสรรคในการใช้หนังสือทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ จำนวนหนังสือที่ต้องการศึกษาค้นคว้า มีน้อย รองลงมา ได้แก่ หนังสือที่ต้องการมีเนื้อหาล้าสมัย หนังสือที่ต้องการใช้มีผู้อื่น ยืมใช้ และหนังสือที่ต้องการไม่มีในห้องสมุด การใช้หนังสืออ้างอิง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ หนังสืออ้างอิงที่มีอยู่มีเนื้อหาล้าสมัย รองลงมาได้แก่ หนังสืออ้างอิงบางเล่มควรจัดเป็นหนังสือทั่วไป แต่นำมาจัดเป็นหนังสืออ้างอิงทำให้ยืมออกไม่ได้ ไม่พบตัวเล่มหนังสือตามอ้างอิงที่ค้นพบใน OPAC และการเรียงหนังสืออ้างอิงบนชั้นวางสลับผิดที่ ปัญหาในการใช้วารสาร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ วารสารฉบับที่ต้องการไม่มีในห้องสมุด รองลงมาได้แก่ วารสารฉบับย้อนหลังมีไม่ครบทุกฉบับ ไม่ทราบวิธีการค้นหาบทความจากวารสาร และดรรชนีวารสารที่ห้องสมุดจัดทำไม่ทันสมัย การใช้วิทยานิพนธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ที่ตรงกับความต้องการมีน้อย รองลงมาได้แก่ ไม่พบตัวเล่มวิทยานิพนธ์ที่ค้นพบใน OPAC ใช้เวลามากในการค้นหาวิทยานิพนธ์ และไม่ทราบรายชื่อวิทยานิพนธ์ที่มีให้บริการ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการไม่เป็นเอกสารฉบับเต็ม รองลงมาได้แก่ ระยะเวลาในการติดต่อการเชื่อมโยงฐานข้อมูลออนไลน์ช้า การใช้คำเพื่อใช้ในการสืบค้นไม่ตรงและไม่ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ และผลการสืบค้นข้อมูลที่ได้รับมีเนื้อหาไม่ตรงกับความต้องการ และการเปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาจำแนกตามระดับการศึกษา ประเภทนิสิต กลุ่มสาขาวิชา โดยรวมและรายด้าน มีปัญหาและอุปสรรคไม่แตกต่างกัน th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณเงินรายได้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การค้นข้อสนเทศ th_TH
dc.subject วิทยานิพนธ์ th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject ห้องสมุดกับการศึกษา th_TH
dc.title การใช้ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Information use for research studies and thesis writing of graduate students, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.author.email chaiyod@buu.ac.th
dc.year 2551
dc.description.abstractalternative The purposes of the research are: 1) to study the information use for research studies and thesis writing of graduate students, Burapha University 2) to compare the information use for research studies and thesis writing of graduate students in different educational levels, study programs and faculties. 3) to study problems and obstacles in using information for research studies and thesis writing of graduate students, Burapha University. 4) to compare problems and obstacles in using information for research studies and thesis writing of graduate students in different educational levels, study programs and faculties. The samples are 332 graduate students in both regular and special programs of Burapha University during academic year 2005-2007. The statistics used to anaiyse the data are percentage, mean and standard deviation. From 332 samples, 288 students returned the questionnaires which is 86.74% The results show: Master degree students of hummanities and social science in regular program have used the information for research studies and thesis writing most. For printed media, research report is used most. For electric media, Science Direct, full text of ThaiLIS and journal Link are used most. The most problem and obstacle in using general books is the small amount of required books, books are out of date, needed books are borrowed and have not in the library. The out of date reference books and some reference books should be made to be general books for borrowing, some of reference books on the wrong shelves. In using journal is the unavailability of required journals, back issue journals are missing, don't know how to find article and index journals are out of date. For research, the problem is the lack of required research papers, acn find in OPAC, use long time for searching and don't know list of thesis. In use online databases are incomplete data, duration of online link is too long, use disingenuous keywords for search, not covering content and result of required information. The comparison of problems and obstacles in using information for research studies and thesis writing of graduate students, Burapha University; both individuals and overall students in different educational levels, study programs and faculties have the same problems and obstacles en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account