dc.contributor.author |
ฉัตรกมล สิงห์น้อย |
|
dc.contributor.author |
พรชัย จูลเมตต์ |
|
dc.contributor.author |
อวยพร ตั้งธงชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:09:55Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:09:55Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1895 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนานี้เป็นการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (One group pretest-posttest design) แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 ใช้กระบวนพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายโดยการทบทวนเอกสารและออกแบบรูปแบบยางยืดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังการออกแบบและปรับปรุงเป็นจำนวน 3 ซึ่งการออกแบบครั้งที่ 3 มีทั้งสิ้นจำนวน 11 ท่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 เท่ากับ .81 นำเอาไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 คน โดยเก็บข้อมูลเป็นเวลาห่างกัน 1 อาทิตย์ โดยใช้การออกกาลังกายท่าละ 4 ครั้ง เมื่อการปฏิบัติทั้ง 11 ท่า พบว่ามีค่าการใช้พลังงานจากการออกกาลังกายด้วยยางยืดเท่ากับ
59.5 กิโลแคลอรี่ และมีอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยเท่ากับ 88.5 ครั้งต่อนาที ค่าความหนักของงานครั้งที่ 1 เท่ากับ 56.50 และครั้งที่ 2 เท่ากับ 57.01 นอกจากนั้นมีค่าความเชื่อมั่นของรูปแบบการออกกาลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเท่ากับ 0.94
ตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพศหญิงจำนวน 19 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข มีอายุเฉลี่ย 69±5.77 ปี น้ำหนักมีค่าเฉลี่ย 56±9.73 กิโลกรัม ส่วนสูงมีค่าเฉลี่ย 154.32±4.24 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายมีค่าเฉลี่ย 23.48± 3.77 มีความดันโลหิตตัวบน (Systolic) เฉลี่ยเท่ากับ 146.47±6.53 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic) เฉลี่ยเท่ากับ 87.89±5.58 มม.ปรอท ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงในระดับ 1 กระบวนการวิจัยใช้การทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สาหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังจำนวน 11 ท่า ทำการทดสอบสมรรถภาพกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการออก
กำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างขึ้นช่วยในการลดลงความดันโลหิตตัวบน การลดลงของค่าอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก การลดลงของค่าดัชนีมวลกาย การพัฒนาสมรรถภาพด้านระบบการหายใจและหลอดเลือดที่มีค่าสูงขึ้น ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีค่าสูงขึ้น ด้านความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีมากขึ้น และมีค่าการสมรรถภาพด้านการทรงตัวและความว่องไวได้เร็วขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการความดันโลหิตตัวล่าง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างขึ้นสามารถนาไปใช้ออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังได้ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
th_TH |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.subject |
โรคเรื้อรัง |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง |
th_TH |
dc.title.alternative |
The Development of Apply Elastic Tube Exercise Program for Chronically Ill Older Adults |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to design and develop an applied elastic tube exercise program for chronically Ill older adults and to study the efficiency of the program on their physical fitness. This study was divided in 2 parts.
Part 1 was to develop the program by reviewing the literature on exercise gerontology. Fourteen exercise forms were designed and, after two cycles of expert suggestion and modification, the program consisted of 11 forms. The index of item objective congruence was 0.81. A trial with one older adult subject studied the efficiency and reliability of the program. The energy expenditure was 59.5 Kilocalories; the heart rate average was 88.5 beats per minute; and exercise intensity was 56.75%. Moreover, the reliability was 0.94. The program showed good validity and reliability.
Part 2 studied the efficiency of the program with 19 female older adult volunteers who live in the Saen Sook municipal district. The average age was 69±5.77 years; average height was 154.32±4.24 centimeters; body mass index was 23.48± 3.77 kg/m2; systolic blood pressure average was 146.47±6.53 mmHg; and the diastolic blood pressure average was 87.89±5.58 mmHg. The participants were diagnosed for high blood pressure level 1 at the hospital. The research method was experimental for 8 weeks with 11 forms of applied elastic tube exercise, one group pretest-posttest design. The Senior Fitness Test was used before, during, and after the experiment. The participants showed decreased systolic blood pressure, resting heart rate, and body mass index which were significant at 0.05. The program increased cardiovascular performance, muscle strength, and flexibility, significant at 0.05. Improvements in balance and agility were significant at 0.05. The data showed no
improvement in diastolic blood pressure. In conclusion, the applied elastic tube exercise program was a tool which can be used for exercise with chronically Ill older adults |
en |