DSpace Repository

การศึกษาผลของสารสกัดมะเขือเทศราชินี ต่อความสามารถในการรักษาโรคความจำเสื่อม

Show simple item record

dc.contributor.author นิรมล ธรรมวิริยสติ th
dc.contributor.author จิราพร จรอนันต์ th
dc.contributor.author ปองรุ้ง จันทรเจริญ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:54Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:54Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1882
dc.description.abstract มะเขือเทศราชินีเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร นิยมใช้รับประทานสดและแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม สามารถนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพรแต่ยังไม่มีการรายงานผลในการรักษาโรคความจำเสื่อม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของมะเขือเทศ ต่อความสามารถในการออกฤทธิ์ยับยั้ง สารอนุมูลอิสระจากการวัดกิจกรรมของเอนไซม์ต่าง ๆ ผลต่อการลดความรุนแรงของโรคจากภาวะ Oxidative stress ของเซลล์ประสาทที่เพาะเลี้ยง และการต้านภาวะสมองเสื่อมจากการขาดเลือดต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และการจำของหนูทดลอง ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดมะเขือเทศราชินีด้วยน้ำและเอทานอล มีค่า SOD activity เท่ากับ 32.71% และ 57.41 % มีค่า GPx activity เท่ากับ 8.65 mol/L และ 9.32 mol/L มีค่า CAT activity 29.16 M และ 30.84 M ตามลำดับ ซึ่งสารสกัดด้วยเอทานอลมีกิจกรรมของเอนไซม์สำหรับต้านสารอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ส่วน สารสกัดด้วยเอทานอลของมะเขือเทศราชินีสามารถใช้ความเข้มข้นน้อยที่สุด 250 mg/ml ต่อฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยงจากการชักนำของสาร H2O2 สารสกัดจากมะเขือเทศราชินี ด้วยเอทานอลและวิตามินอีสามารถช่วยชะลอและป้องกันภาวะของการเรียนรู้และจดจำที่บกพร่องได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูถูกผูกหลอดเลือดอย่างเดียว ผลการทดสอบแสดงให้เห็นถึงแนวทางการป้องกันเบื้องต้นในการใช้สารสกัดมะเขือเทศด้วยเอทานอลที่มีฤทธิ์ต่อ การต้านสารอนุมูลอิสระมาช่วยป้องกันภาวะตึงเครียดและโรคความจำเสื่อม th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาวะสมองเสื่อม -- การรักษา th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject สารยับยั้งเอนไซม์ th_TH
dc.subject มะเขือเทศ -- พันธุ์ราชินี -- การใช้ประโยชน์
dc.subject มะเขือเทศ -- พันธุ์ราชินี -- การใช้รักษา
dc.subject สารสกัดจากพืช -- การวิเคราะห์
dc.title การศึกษาผลของสารสกัดมะเขือเทศราชินี ต่อความสามารถในการรักษาโรคความจำเสื่อม th_TH
dc.title.alternative Effect of Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme extracts in dementia therapy en
dc.type Research
dc.author.email niramon@buu.ac.th
dc.author.email pongrung@buu.ac.th
dc.author.email chirapond@buu.ac.th
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative Cherry tomato (Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme) enrich with nutrient. Normally people eat fresh or preserve tomatoes. It is also used as herbal medicine however, there is no report on application as dementia therapy. The objective of this research was to study the effect of antioxidant activities by enzymatic assay, reduction of oxidative stress of nerve cell culture and test for memory and recognition against dementia resulted from OV rat. The result was found that the activity of superoxide dismutase (SOD) of cherry tomatoes extracts by water and ethanol was 32.71% and 57.41%, respectively. The activity of glutathione peroxidase (GPx) of cherry tomatoes extracts by water and ethanol was 65 mol/L และ 9.32 mol/L, respectively. The activity of catalase (CAT) of cherry tomatoes extracts by water and ethanol was 29.16 M and 30.84 M, respectively. It has been showed that tomato extract by ethanol was better antioxidant activities rather than its extract by water. The results have no significant potential effects. The minimal concentration of tomato extract by ethanol to protect nerve cell death induced by H2O2 was 250 mg/ml. Tomato extract by ethanol and vitamin E could reduce and protect learning and cognition when determining by OV rat model. These results were demonstrated that the pre-treatment of using tomato extract by ethanol which have antioxidant effects to protect oxidative stress and dementia en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account