dc.contributor.author | อิสราภรณ์ ทนุผล | th |
dc.contributor.author | กมลวรรณ รอดหริ่ง | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:53Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:53Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1863 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการลดต้นทุนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยการประยุกต์แนวคิดการบริหารฐานกิจกรรมของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ 1) ต้นทุนกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจ 2) ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการการท่องเที่ยว 3) แนวทางและวิธีการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และ 4) โอกาสในการเพิ่มผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลในปี 2558 อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ประธานโครงการ และสมาชิกโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC และวิธีการสังเกตการณ์ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ การวิจัยมีข้อสรุปเป็นประเด็นดังนี้ 1) ต้นทุนกิจกรรมในการดำเนินธุกิจ พบว่า ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์บริการท่องเที่ยวที่สูงสุด ได้แก่ "ต้นทุนของกิจกรรมพาหนะ" ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์บริการที่พักโฮมสเตย์ ได้แก่ "ต้นทุนของกิจกรรมจัดเตรียมห้องพักก่อนพักแรม" และ "ต้นทุนการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ก่อนการพัก" สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปประจำวันประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบหลักร้อยละ 40 และต้นทุนกิจกรรมผลิตอื่นร้อยละ 60 ซึ่งกิจกรรมที่มีต้นทุนกิจกรรมที่สูงสุด ได้แก่ ต้นทุนกิจกรรมการแล่และตัดชิ้นส่วนและกิจกรรมประกอบอาหารในสัดส่วนที่สูงสุด 2) ต้นทุนสินค้าและบริการการท่องเที่ยว โดยต้นทุนการบริการท่องเที่ยวต่อปีเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ต้นทุนบริการที่พักโฮมสเตย์ ต้นทุนบริการท่องเที่ยวเรือประมง ต้นทุนบริการท่องเที่ยวท้องถิ่นด้านไม่ติดฝั่งทะเล ต้นทุนบริการท่องเที่ยวเรือเล็กชายฝั่ง และต้นทุนบริการท่องเที่ยวท้องถิ่นด้านติดฝั่งทะเล สำรับต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปประจำวันเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ อาหารสาเร็จรูปประจาวัน-อื่น กะปิ ปลาเค็ม ปลาแดดเดียว อาหารสำเร็จรูปประจำวัน-ปลาต้มเค็ม และน้าปลา 3) แนวทางและวิธีการลดต้นทุนสินค้าและบริการการท่องเที่ยว ได้แก่ 3.1) การลดต้นทุนกิจกรรมพาหนะและมัคคุเทศน์โดยการใช้พาหนะของสมาชิกในชุมชนที่สามารถเป็นมัคคุเทศน์ได้ 3.2) ลดต้นทุนการลงทุนในสินทรัพย์ในกิจกรรมจัดเตรียมห้องพักและกิจกรรมจัดหาวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอำนวยความสะดวก 3.3) ลดต้นทุนจำนวนรอบการนำวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสาเร็จรูปโดยรอให้วัตถุดิบหลักที่รับซื้อมามีปริมาณเพียงพอต่อการนำเข้ากระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนกิจกรรมแล่และตัดชิ้นส่วน 3.4) ลดต้นทุนการประกอบอาหารโดยกำหนดรายการอาหารที่มีการใช้วัตถุดิบที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะลแปรรูปที่มีไว้ขายหรือเศษวัตถุดิบจากการผลิตอาหารทะเลสำเร็จรูปและลดความหลากหลายของอาหารสาเร็จรูปประจำวันเพื่อลดต้นทุนกิจกรรมการใช้เชื้อเพลิง 4) โอกาสในการเพิ่มผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างต่อเนื่องโดยสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปกำหนดค่าเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจชุมชนบ้านตลาดล่างให้มีการใช้ต้นทุนอย่างมึประสิทธิภาพได้ดังนี้ 4.1) เพิ่มอัตราส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจริงต่อจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดที่รับได้ในแต่ละครั้ง 4.2) เพิ่มอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินการตามรายผลิตภัณฑ์ต่อมูลค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ดำเนินงานในปี 4.3) ลดอัตราส่วนจำนวนเศษซากวัตถุดิบต่อจำนวนวัตถุดิบใช้ไป 4.4) เพิ่มอัตราส่วนจำนวนวัตถุดิบที่รับซื้อจากชาวประมงในชุมชนต่อวัตถุดิบทั้งหมดที่จัดซื้อโดยการรับซื้อวัตถุดิบจากชาวประมงในชุมชนจะมีราคาวัตถุดิบต่ำกว่าในท้องตลาด 4.5) ลดความหลากหลายของอาหารสำเร็จรูปเพื่อลดอัตราส่วนจำนวนวัตถุดิบอื่นที่จัดชื้อเพิ่มต่อจำนวนวัตถุดิบที่ผลิตได้เอง | th_TH |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยว | th_TH |
dc.subject | การบริหารฐานกิจกรรม | th_TH |
dc.subject | การลดต้นทุน | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การลดต้นทุนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยการประยุกต์แนวคิดการบริหารฐานกิจกรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี | th_TH |
dc.type | Research | en |
dc.author.email | kamolwan@buu.ac.th | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | The study of cost reduction of tourism products by applying the activity-based management (ABM), tourism village (OVC), Ban Talad-Lang, Subdisdrict Bang Phra, District Sriracha, Chonburi Province, the objectives are to identify 1) activity cost of tourism product and service 2) production of tourism product and service 3) approaches of tourism products and services and 4) opportunity for continuous performance improvement, data are continuously collected in year 2015 through year by interviewing chairman and members of tourism village (OVC) project and observation of manufacturing process of tourism product and services. This study could be summarized following : 1) Activity cost for operating, it found that the highest activity cost of tourism service is “vehicle activity cost”. The highest activity cost of homestay service is “preparing activity cost”. For processed sea food products comprise of direct material 40 % and other production activity cost 60% which the highest activity cost is “butchering and cutting activity cost” and “cooking activity cost”. 2) Tourism product cost and tourism services cost, descending order, are homestay service cost, cost of tourism by fishing boat, cost of tourism in local-non-seaboard, cost of tourism by small fishing boat, and cost of tourism in local-seaboard. For processed sea food and daily prepared food products cost, descending order, are daily prepared food-other, shrimp paste, salted fish, sun-dried fish, daily prepared food-fishboiled with salt and fish sauce. 3) Production cost reduction approaches of tourism product and service are 3.1) cost reduction in “vehicle activity cost” and “guide activity cost” 3.2) cost reduction for providing convenience by investment asset in activity of preparing room and activity of preparing material and equipment 3.3) time reduction of entering direct material into manufacturing process of processed sea food and prepared food by waiting direct material purchased is enough for entering into manufacturing process for decreasing “butchering and cutting activity cost” and 3.4) cost reduction in cooking cost by setting daily food menu which using processed sea foods product available for sell or its scrap as material and reduction of prepared food variety for decreasing in “using fule activity cost”. 4) Opportunity for continuous performance improvement by identifying performance indicators for setting target value of business operation of OVC tourism village and lead to efficiency cost as followings : 4.1) increasing ratio of actual tourist number to limited tourist number 4.2) increasing ratio of incremental operating profit for product to average value of operating asset in year 4.3) decreasing ratio of scraps to material used 4.4) increasing ratio of material purchased from fisherman within community to total material purchased which material purchasing from fisherman within community has lower price than other market and 4.5) decreasing variety of prepared food types by decreasing ratio of incremental purchasing of material to manufactured material by themselves | en |